21 เมษายน 2567

คอฟฟี่ ดับเบิ้ลพลัส ประเทศไทย ส่งเสริมเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู พร้อมสร้างเครือข่ายวิทยากรสำหรับอบรมเกษตรกรโรบัสต้า

เรื่องและภาพ: โครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ล พลัส ประเทศไทย/ กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร

คุณพัชรี พรหมฤทธิ์ ผู้แทนจากเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร และคุณศิริวรรณ นาคมุข ผู้แทนจากเกษตรอำเภอสวี ทดสอบและสังเกตการขาดธาตุอาหารของพืชในช่วงกิจกรรมภาคบ่าย

เมื่อวันที่ 22-23 เมษายน พ.ศ. 2567 องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมกับบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จํากัด พร้อมด้วยหน่วยงานพันธมิตรหลักของโครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัสจากภาครัฐในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดยกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน จัดการอบรมวิทยากรหลักสูตร “เกษตรกรรมฟื้นฟูสำหรับการปลูกกาแฟ” เป็นระยะเวลาสองวันที่โรงแรมลอฟท์ มาเนีย จังหวัดชุมพร โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน สำนักงานเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร วิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพร ศูนย์เทคโนโลยีเกษตรและนวัตกรรมจังหวัดชุมพร และ PUR projet ทั้งจากส่วนกลาง ระดับจังหวัดและท้องถิ่นทั้งหมด 50 ท่านเข้าร่วมกิจกรรม  

การอบรมวิทยากรหลักสูตรครั้งนี้จัดขึ้นเป็นครั้งแรกภายใต้โครงการยกระดับคุณภาพชีวิตและความพร้อมในการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของผู้ผลิตกาแฟรายย่อยด้วยระบบเกษตรกรรมฟื้นฟู หรือเรียกสั้น ๆ ว่า โครงการ “คอฟฟี่ดับเบิ้ล พลัส” ประเทศไทย (Coffee++ Thailand) ซึ่งเป็นโครงการที่ GIZ ดำเนินการร่วมกับเนสท์เล่ มีระยะเวลาดำเนินการทั้งหมด 3 ปี คือระหว่าง พ.ศ. 2566-2568 โดยมีเป้าหมายพัฒนาเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟจำนวน 2,200 ราย ในพื้นที่สามอำเภอในจังหวัดชุมพรได้แก่ อำเภอท่าแซะ อำเภอสวี และอำเภอพะโต๊ะ และสามอำเภอในจังหวัดระนอง ได้แก่ อำเภอกระบุรี อำเภอละอุ่น อำเภอกะเปอร์ รวมทั้งอำเภอบางสะพานน้อย จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ และอำเภอพนม จังหวัด สุราษฎร์ธานี เพื่อให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้นและสามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ส่งเสริมเกษตรกรให้มีส่วนช่วยลดภาวะโลกเดือดที่กำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้

คุณพจมาน วงษ์สง่า ผู้อำนวยการโครงการ GIZ ประจำประเทศไทย กล่าวเปิดงานว่า “วัตถุประสงค์หลักของโครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัส ประเทศไทย คือการสนับสนุนและส่งเสริมให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อยในพื้นที่เป้าหมายมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น สามารถปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศ และมีส่วนช่วยในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกโดยนำหลักการเกษตรกรรมฟื้นฟู (Regenerative Agriculture) ไปสู่การปฏิบัติจริง การดำเนินงานของโครงการเน้นบูรณาการกับทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐ ภาคเอกชนและชุมชนเกษตรกร เชื่อมโยงกับพันธกิจหลักของกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน และบริษัท เนสท์เล่ ประเทศไทย นำมาสู่การทำงานร่วมกันเพื่อพัฒนาหลักสูตร ‘เกษตรกรรมฟื้นฟูสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ’ เพื่อใช้ในการอบรมและพัฒนาบุคลากรและสร้างเครือข่ายวิทยากรหลักสูตรเกษตรกรรมฟื้นฟูสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ไปยังเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อยและเอื้อประโยชน์ในการทำการเกษตรเชิงฟื้นฟูให้ในพื้นที่อย่างยั่งยืน”

คุณทาธฤษ กุณาศล ผู้จัดการฝ่ายบริการการเกษตร บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด กล่าวว่า “ผู้บริโภคทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทยให้ความสำคัญมากขึ้นกับแหล่งผลิต ที่มาของวัตถุดิบ และประเด็นอื่นที่เกี่ยวข้องทั้งเรื่องแรงงานเด็ก การใช้สารเคมีต้องห้าม การทำลายทรัพยากรดินและน้ำ การปล่อยของเสียสู่พื้นที่สาธารณะ หรือบุกรุกทำลายป่า ฯลฯ กาแฟคือหนึ่งในพืชเกษตรที่ผู้บริโภคกำลังให้ความสำคัญมากขึ้นกับปัจจัยเหล่านี้ …แต่ความต้องการบริโภคกาแฟสูงขึ้นมาก การพัฒนาหลักสูตร ‘เกษตรกรรมฟื้นฟูสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ’ เพื่อใช้ในการอบรมและพัฒนาบุคลากรอบรมนี้ นับเป็นครั้งแรกที่มีหลักสูตรเช่นนี้ และหวังว่าวิทยากรจะสามารถถ่ายทอดเทคโนโลยีการเกษตรแบบฟื้นฟูไปสู่การปฏิบัติจริง เพื่อทำให้เกิดการจัดการพื้นที่เกษตรอย่างเหมาะสม รบกวนธรรมชาติให้น้อยที่สุด ลดผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อมและภาวะโลกร้อนที่กำลังส่งผลกระทบกับตัวเรามากขึ้นเรื่อย ๆ”

ดร.ประยูร สงค์ประเสริฐ นายกสมาคมชาวสวนกาแฟ กล่าวว่า “ในอดีตเกษตรกรไทยเคยสามารถผลิตกาแฟโรบัสตาได้เฉลี่ยปีละมากถึงแสนตัน แต่กำลังการผลิตปัจจุบันกลับลดลงเรื่อย ๆ ด้วยเหตุผลด้านนโยบาย สภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟมีความเสี่ยงกับผลผลิตมากขึ้น เนื่องจากต้องเผชิญกับภาวะแห้งแล้งและความท้าทายด้านการจัดเก็บน้ำและระบบชลประทาน หวังว่าวิทยากรที่เข้าร่วมอบรมครั้งนี้จะนำความรู้ที่ได้จากการอบรมมาถ่ายทอดให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟในพื้นที่ดำเนินงานสร้างความพร้อมให้กับเกษตรกรในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงและมีขีดความสามารถในการผลิตกาแฟโรบัสตาได้มากขึ้นโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมหรือบุกรุกทำลายป่า”

คุณสุบรรณ รักษ์ทอง เกษตรจังหวัดชุมพร กล่าวว่า “ทุกวันนี้เกษตรกรต้องเผชิญกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง กลายเป็นปัจจัยที่เร่งให้ผลผลิตทางเกษตรมีน้อยลง รวมไปถึงกาแฟด้วยเช่นกัน เพื่อบรรเทาผลกระทบและสร้างความยั่งยืนให้กับต้นน้ำกระบวนการผลิตกาแฟของภาคเกษตร การนำหลักเกษตรกรรมฟื้นฟูมาเป็นหลักปฏิบัติในการปลูกกาแฟเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานร่วมกันแบบบูรณาการในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในหลักการเกษตรเชิงพื้นฟูซึ่งเป็นแนวทางการทำการเกษตรที่ยั่งยืนผสมผสานกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินและความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต ลดการทำลายระบบนิเวศ”
คุณสุบรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอดีตจังหวัดชุมพรมีพื้นที่ปลูกกาแฟมากกว่าสองแสนไร่ แต่ปัจจุบันเหลือเพียงราวหกหมื่นไร่เท่านั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรประเมินว่า พื้นที่ปลูกกาแฟจะเหลือเพียงสี่หมื่นกว่าไร่ภายในปี พ.ศ. 2567 ราคาคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรให้ความสนใจกับการปลูกพืชสวน ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เกษตรกรหันมาปลูกพืชสวนอื่น ๆ เช่น ทุเรียน มากขึ้นด้วยเหตุผลด้านราคา แต่การผลิตกาแฟยังคงมีอยู่เพราะการดื่มกาแฟกลายเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตของเรา อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามที่สามารถผลิตกาแฟได้มากถึง 477 กิโลกรัม/ไร่ ประเทศไทยมีผลผลิตกาแฟเพียง 92 กิโลกรัม/ไร่ การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้นจึงเป็นโจทย์สำคัญเพื่อบริหารจัดการการปลูกกาแฟโรบัสตาทั้งระบบ ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์จนถึงการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรในการจัดการพื้นที่เกษตรอย่างเหมาะสมในระยะยาว

คุณสุบรรณ รักษ์ทอง เกษตรจังหวัดชุมพร กล่าวว่า “ทุกวันนี้เกษตรกรต้องเผชิญกับผลกระทบจากภาวะโลกร้อนและการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศอย่างรุนแรง กลายเป็นปัจจัยที่เร่งให้ผลผลิตทางเกษตรมีน้อยลง รวมไปถึงกาแฟด้วยเช่นกัน เพื่อบรรเทาผลกระทบและสร้างความยั่งยืนให้กับต้นน้ำกระบวนการผลิตกาแฟของภาคเกษตร การนำหลักเกษตรกรรมฟื้นฟูมาเป็นหลักปฏิบัติในการปลูกกาแฟเพื่อรับมือกับปัญหาดังกล่าว จึงเป็นเรื่องเร่งด่วนที่หน่วยงานต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องจะต้องทำงานร่วมกันแบบบูรณาการในการส่งเสริมและสนับสนุนให้เกษตรกรมีความรู้ความเข้าใจในหลักการเกษตรเชิงพื้นฟูซึ่งเป็นแนวทางการทำการเกษตรที่ยั่งยืนผสมผสานกับเทคโนโลยีที่เหมาะสม เพื่อเพิ่มความอุดมสมบูรณ์ดินและความหลากหลายทางชีวภาพ ควบคู่ไปกับการเพิ่มประสิทธิภาพทางการผลิต ลดการทำลายระบบนิเวศ”
คุณสุบรรณ กล่าวเพิ่มเติมว่า ในอดีตจังหวัดชุมพรมีพื้นที่ปลูกกาแฟมากกว่าสองแสนไร่ แต่ปัจจุบันเหลือเพียงราวหกหมื่นไร่เท่านั้น สำนักงานเศรษฐกิจการเกษตรประเมินว่า พื้นที่ปลูกกาแฟจะเหลือเพียงสี่หมื่นกว่าไร่ภายในปี พ.ศ. 2567 ราคาคือปัจจัยสำคัญที่ทำให้เกษตรกรให้ความสนใจกับการปลูกพืชสวน ปฏิเสธไม่ได้ว่าทุกวันนี้เกษตรกรหันมาปลูกพืชสวนอื่น ๆ เช่น ทุเรียน มากขึ้นด้วยเหตุผลด้านราคา แต่การผลิตกาแฟยังคงมีอยู่เพราะการดื่มกาแฟกลายเป็นหนึ่งในวิถีชีวิตของเรา อย่างไรก็ตาม หากเทียบกับประเทศเพื่อนบ้าน เช่น เวียดนามที่สามารถผลิตกาแฟได้มากถึง 477 กิโลกรัม/ไร่ ประเทศไทยมีผลผลิตกาแฟเพียง 92 กิโลกรัม/ไร่ การเพิ่มผลผลิตต่อไร่ให้มากขึ้นจึงเป็นโจทย์สำคัญเพื่อบริหารจัดการการปลูกกาแฟโรบัสตาทั้งระบบ ตั้งแต่การคัดเลือกพันธุ์จนถึงการเพิ่มศักยภาพเกษตรกรในการจัดการพื้นที่เกษตรอย่างเหมาะสมในระยะยาว

บน (ซ้าย) ดร.ฉัตรปวีณ์ เดชจิรรัตนสิริ คณะเกษตร มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ทีมวิทยากรผู้อบรม (ขวา)นายสุวิทย์ ดำแก้ว ผู้อำนวยการศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ จังหวัดชุมพร ล่าง (ซ้าย) ผู้แทนจากศูนย์วิจัยพืชสวนชุมพร เนสเล่ท์ และ กรมส่งเสริมการเกษตร สรุปบทเรียนประจำวันแรก ในช่วงการอบรมวันที่สอง (ชวา) คุณนรินทร์ เสนาป่า ผู้จัดการภาคสนาม โครงการคอฟฟี ดับเบิ้ลพลัส
ตลอดระยะเวลาสองวัน ผู้เข้าร่วมอบรมทั้งหมด 50 ท่านจากทั้งภาครัฐและเอกชนได้มีโอกาสเรียนรู้การเป็นวิทยากรในหลักสูตร “เกษตรกรรมฟื้นฟูสำหรับการปลูกกาแฟ” จากมหาวิทยาลัยแม่โจ้ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และศูนย์ส่งเสริมเทคโนโลยีการเกษตรด้านแมลงเศรษฐกิจ ทั้งเรื่องการปรับสภาพดิน การจัดการพื้นที่สวนเกษตร การลดขยะจากวัสดุเหลือทิ้งทางการเกษตร และการเลี้ยงผึ้งเพื่อเสริมรายได้ครัวเรือน เป็นต้น เพื่อนำองค์ความรู้เกี่ยวกับการทำเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟูไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อยต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร.จีราภรณ์ อินทสาร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในฐานะนักวิชาการนำการฝึกอบรม หลักสูตรเกษตรกรรมฟื้นฟูสำหรับการปลูกกาแฟ กล่าวว่า แนวทางเกษตรแบบฟื้นฟู หากนำไปปฏิบัติใช้จริงจะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นอย่างเป็นระบบ สร้างสมดุลให้กับปัจจัยการผลิต และสร้างโอกาสให้เกษตรกรรุ่นใหม่เข้ามารับช่วงต่อในอนาคตเพื่อคิดปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนเพื่อความยั่งยืน ทำให้เศรษฐกิจในครัวเรือนดีขึ้น ลดการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและมาตรฐานที่มากขึ้น สร้างแรงจูงใจให้ปรับเปลี่ยนต่อไป

รองศาสตราจารย์ ดร.จีราภรณ์ อินทสาร คณะผลิตกรรมการเกษตร มหาวิทยาลัยแม่โจ้ ในฐานะนักวิชาการนำการฝึกอบรม หลักสูตรเกษตรกรรมฟื้นฟูสำหรับการปลูกกาแฟ กล่าวว่า แนวทางเกษตรแบบฟื้นฟู หากนำไปปฏิบัติใช้จริงจะช่วยให้เกษตรกรเพิ่มผลผลิตได้มากขึ้นอย่างเป็นระบบ สร้างสมดุลให้กับปัจจัยการผลิต และสร้างโอกาสให้เกษตรกรรุ่นใหม่เข้ามารับช่วงต่อในอนาคตเพื่อคิดปรับปรุงหรือปรับเปลี่ยนเพื่อความยั่งยืน ทำให้เศรษฐกิจในครัวเรือนดีขึ้น ลดการเสื่อมโทรมของทรัพยากรดิน ลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก สามารถตรวจสอบย้อนกลับได้ ผลผลิตที่ได้มีคุณภาพและมาตรฐานที่มากขึ้น สร้างแรงจูงใจให้ปรับเปลี่ยนต่อไป

นอกจากนี้ภายหลังเสร็จสิ้นการอบรม ยังได้มีการจัดตั้งเครือข่ายวิทยากรหลักสูตรเกษตรกรรมฟื้นฟูสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟ เพื่อเป็นสื่อกลางในการแบ่งปันแลกเปลี่ยนความรู้เพื่อขับเคลื่อนองค์ความรู้ไปสู่การปฏิบัติจริงอย่างเป็นรูปธรรมต่อไป ■

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN