12 มีนาคม 2567

ธ.ก.ส. – GIZ เดินหน้าความร่วมมือส่งเสริมเกษตรกรเข้าการจัดการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เรื่อง: เมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ นที ทองจันทร์ และณัฐธิสา โพธิ์ถึง / กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร

ผู้แทน ธ.ก.ส. และ GIZ ประเทศไทย เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการในหัวข้อการเงินเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรของไทย

ผู้แทนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เกษตร (ธ.ก.ส.) และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit) หรือ GIZ ประเทศไทย ได้จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการ ในหัวข้อการเงินเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรของไทย เมื่อวันที่ 12-14 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ จังหวัดนครราชสีมา การประชุมเพื่อวางแผนเชิงยุทธศาสตร์ร่วมกันระหว่าง ธ.ก.ส. และ GIZเป็นการดำเนินงานที่ต่อเนื่องร่วมกันระหว่างองค์กรสองแห่งเพื่อให้เกษตรกรรายย่อยในประเทศไทยสามารถเข้าถึงการจัดการเกษตรที่ยั่งยืนและรับมือต่อการเปลี่ยนแปงสภาพภูมิอากาศ

ธ.ก.ส. และ GIZ ได้ลงนามในบันทึกความเข้าใจร่วมกันเมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2566 โดยมุ่งเน้นการสร้างความพร้อมและการดำเนินงานในด้านการเงินสีเขียวและการเงินที่ยั่งยืนในภาคการเกษตรรวมถึงเครื่องมือและการดำเนินงานที่ยั่งยืน โดยความร่วมมือระหว่างสองหน่วยงานมุ่งเน้นเพื่อจัดการปัญหาจากผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรโดยเฉพาะการเพาะปลูกข้าว โดยในปัจจุบันมีความร่วมมือผ่านโครงการพัฒนาด้านการเกษตรจำนวนห้าโครงการ ได้แก่

  • โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Thai Rice Nationally Appropriate Mitigation Action: Thai Rice NAMA)
  • โครงการเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ (Thai Rice: Strengthening Climate-Smart Rice Farming (Thai Rice GCF)
  • โครงการการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Innovative Climate Risk Financing for the Agricultural Sector in the ASEAN Region: AgriCRF),
  • โครงการระบบการผลิตข้าวยั่งยืนแบบองค์รวม (Inclusive Sustainable Rice Landscapes Transforming Thai Rice Value Chain for Environmental Sustainability: ISRL)
  • โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ(Thai – German Cooperation on Energy, Mobility and Climate: Biomass Component)

การประชุมสามวันนี้ไม่เพียงเน้นการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นในกรอบการดำเนินงานและแนวคิดในด้านการเงินและการพัฒนาเท่านั้น แต่ยังรวมถึงการวางแผนกิจกรรมของโครงการร่วมที่กำลังดำเนินการอยู่ด้วย ภายใต้กลยุทธ์และลำดับความสำคัญของธ.ก.ส. ในฐานะ “ธนาคารพัฒนาชนบทที่ยั่งยืน”

นายวิชัย ปักษา ผู้อำนวยการสำนักธุรกิจต่างประเทศ ธ.ก.ส.

นายวิชัย ปักษา ผู้อำนวยการสำนักธุรกิจต่างประเทศของธ... กล่าวว่า “แม้ว่าเราจะได้ดำเนินกิจกรรมโครงการร่วมกันมาเป็นระยะเวลาหนึ่ง การประชุมในวันนี้ก็เป็นการบรรลุเป้าหมายทางยุทธศาตร์แรกที่สำคัญสำหรับการแลกเปลี่ยนที่จะดำเนินการต่อไปในอนาคตและเพื่อสนับสนุนเกษตรกรไทยให้มีรายได้ดีขึ้น

ผู้บริหารของธ.ก.ส.ได้นำเสนอเรื่องแผนงานระดับสูงของธ.ก.ส.สำหรับปี พ.ศ. 2567/2568 โดยเน้นที่จะจัดการกับปัญหาความยากจนที่เกิดขึ้นในกลุ่มเกษตรกรส่วนใหญ่ การส่งเสริมการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมเพื่อเพิ่มขีความสามารถในการแข่งขันในขณะเดียวกันก็สนับสนุนกิจกรรมทางเศรษฐกิจในชุมชนผ่านการสนับสนุนด้านความรู้และเงินทุนโดยคำนึงถึงความสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมในท้ายที่สุดจุดมุ่งหมายสำคัญคือการเพิ่มรายได้ครัวเรือนให้แก่เกษตรกร

นายโทเบียส บรอยนิค ที่ปรึกษาด้านการเงินในโครงการเกษตรของ GIZ ได้แลกเปลี่ยนความคิดเห็นที่คล้ายกันเกี่ยวกับผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรซึ่งผลกระทบต่อการทำเกษตรกรรมและชีวิตความเป็นอยู่ของเกษตรกรไทย โดยกล่าวว่า GIZ และ ... สามารถดำเนินงานร่วมกันเพื่อตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเงินอย่างยั่งยืนเพื่อช่วยยกระดับชีวิตความเป็นอยู่และรายได้ของเกษตรกรรายย่อย

ผู้แทนจาก ธ.ก.ส. จากหลากหลายส่วนงานและจาก GIZ ประเทศไทย ร่วมกันระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมร่วมกันเพื่อยกระดับขีดความสามารถและความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรและพนักงาน ธ.ก.ส. ในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเงิน

ผู้แทนจาก ธ.ก.ส. จากหลากหลายส่วนงาน เช่น ฝ่ายนโยบายและกลยุทธ์ ฝ่ายสินเชื่อส่วนบุคคล สำนักพัฒนาลูกค้า-สถาบันและองค์กรชุมชน สำนักแผนดิจิทัลเทคโนโลยีและสารสนเทศ ฝ่ายสินเชื่อสถาบันและผู้ประกอบการ สำนักงานการเครือข่ายผู้ประกอบการ สำนักธุรกิจต่างประเทศ และสำนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรมได้มีส่วนร่วมในการแลก เปลี่ยนความคิดเห็นเกี่ยวกับความเสี่ยงที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่อาจส่งผลกระทบต่อ ธ.ก.ส. ในฐานะที่เป็นสถาบันการเงิน

นอกจากนี้ผู้แทนจาก GIZ ได้นำเสนอบทเรียนจากการดำเนินโครงการไทย ไรซ์ นามา (Thai Rice NAMA) ที่มีการดำเนินการระหว่างปี พ.ศ. 2561-2566 ใน 6 จังหวัดภาคกลางที่เป็นพื้นที่เพาะปลูกข้าวที่สำคัญของประเทศ เพื่อเชื่อมโยงให้เห็นภาพของความท้าทายด้านเศรษฐกิจสังคมในภาคการเกษตร ที่จะกลายเป็นกุญแจสำคัญในการดำเนิน โครงการ Thai Rice: Strengthening Climate-Smart Rice Farming (Thai Rice GCF) ซึ่งมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับแรงจูงใจทางการเงินและกลไกทางการเงินสำหรับการเกษตรที่เท่าทันการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

ตัวแทนจากทั้งสององค์กรยังได้ระดมความคิดเกี่ยวกับแนวทางการดำเนินงานกิจกรรมร่วมกันเพื่อยกระดับขีดความสามารถและความรู้ความเข้าใจของเกษตรกรและพนักงาน ธ.ก.ส. ในด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการเงินเพื่อการตั้งรับปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ นวัตกรรมใหม่ๆ ที่จะช่วยสนับสนุนให้ ธ.ก.ส. สามารถประเมินความเสี่ยงด้านสินเชื่อโดยคำนึงถึงผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้อย่างมีประสิทธิภาพ และบทบาทที่ ธ.ก.ส. ในฐานะธนาคารเพื่อการเกษตรสามารถดำเนินการได้ เช่น เครื่องมือเพื่อช่วยประเมินความเสี่ยงด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (ESG Risk Radar) ได้ถูกนำเสนอ โดยเครื่องมือดังกล่าวจะช่วยให้ ธ.ก.ส. สามารถประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล (รวมถึงความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ) ที่จะมีต่อพอร์ตเงินกู้ของธนาคารได้

หนึ่งในประมวลภาพผลสรุปการระดมความคิดในแต่ละช่วงของกิจกรรมอบรมเชิงปฏิบัติการในรูปแบบกราฟฟิค

การประชุมได้จบลงด้วยบทสรุปที่เป็นที่น่าพอใจ โดยตัวแทนจากทั้งสององค์กรได้ตกลงร่วมกันในกรอบการร่วมมือและแผนการดำเนินงานร่วมกันในปีพ.ศ. 2567 โดยคุณวิชัย กล่าวปิดท้ายว่า การประชุมในครั้งนี้เป็นการประชุมวางแผนร่วมกันระหว่างสององค์กรเป็นครั้งแรก และเราหวังว่า จะมีการดำเนินการร่วมกันช่นนี้ต่อไป เพื่อที่เราจะได้สามารถแลกเปลี่ยนและเรียนรู้ระหว่างกันเพื่อประโยชน์ของเกษตรกรไทย

แกลอรี่ภาพ

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN