Category: กิจกรรม

ไทย – ฟิลิปปินส์ แลกเปลี่ยน-เรียนรู้ การนำมาตรการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ

เรื่อง:รวิวรรณ บุญไชย และพงศ์นรินทร์ สุขแจ่ม กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร/GIZ ประเทศไทย ภาพ: GIZ Philippines คณะดูงานจากประเทศไทยได้ร่วมลงพื้นที่ร่วมกับเจ้าหน้าที่และชุมชนท้องถิ่น เพื่อศึกษาดูงานมาตรการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศมาใช้ในการบริหารจัดการน้ำ ณ เมืองคาบันคาลัน ประเทศฟิลิปปินส์  องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โดยโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing Climate Resilience in Thailand through Effective Water Management and Sustainable Agriculture: E-WMSA) ได้รับทุนสนับสนุนจากกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund: GCF)

อาเซียน เปิดตัว แพลตฟอร์มการเรียนรู้เพื่อต่อยอดทักษะการค้าของเอสเอ็มอีไทยและภูมิภาค

เรื่องและภาพ : ญาณินท์ ศรีอุดมพงษ์ / GIZ Thailand (จากซ้ายไปขวา) นายอัมรี บุคคารี บัคติยา สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat นางสาวอรวรินทร์ โหตรภวานนท์ ประธานกรรมการบริหาร บริษัท อรรดา คอร์ปอเรชั่น จำกัด นายวชิระ แก้วกอ รองผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย และนางสาวมาลัย กรแก้วสมนึก ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาความพร้อมทางการค้า กรมเจรจาการค้าระหว่างประเทศ คณะกรรมการประสานงานอาเซียนด้านวิสาหกิจขนาดกลาง

“ฐานข้อมูลในการจัดการสวน” ช่วยเกษตรกรพัฒนาแผนธุรกิจให้ประสบความสำเร็จ

เรื่องและภาพ:ธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ ประเทศไทย กลุ่มวิสาหกิจชุมชนผู้ปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน RSPO – พังงา นำเสนอการแสดงผลข้อมูลด้วย PowerBI การพัฒนาแผนธุรกิจถือเป็นสิ่งจำเป็นสำหรับเกษตรกรในการเป็นผู้ประกอบการและเพื่อที่จะหลุดพ้นจากกับดักความยากจน ฐานข้อมูลในการจัดการสวนถือว่าเป็นกุญแจสำคัญในการพัฒนาแผนธุรกิจดังกล่าวให้มีประสิทธิภาพและส่งผลให้กลุ่มประสบความสำเร็จ อย่างไรก็ตาม ความพร้อมและความถูกต้องของข้อมูลในการจัดการสวนยังนับว่าเป็นความท้าทายสำคัญในภาคการเกษตรมาหลายสิบปี โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน(SPOPP) ที่ได้รับทุนสนับสนุนจากบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) (Global Green Chemical PCL: GGC) และให้ความสำคัญกับข้อมูลการทำสวนของเกษตรกรมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่เริ่มต้นโครงการฯ จึงจัดการประชุมเชิงปฏิบัติการให้กับสมาชิกโครงการฯ รวม 34 คนจากจังหวัดพังงา ชุมพร กระบี่ และตรัง ในการใช้เครื่องมือเพื่อวิเคราะห์และแสดงผลข้อมูลอย่างมีประสิทธิภาพ ระหว่างวันที่

การเกษตรแบบฟื้นฟู เพิ่มคุณภาพดิน สร้างรายได้ และ ส่งเสริมวิถีสวนมะพร้าวอย่างยั่งยืน

เรื่อง อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ/ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร เกษตรกรสมาชิกโครงการรีแคพ ตัวแทนจากกรมวิชาการเกษตร กรมส่งเสริมการเกษตร และสถานทูตเยอรมันประจำประเทศไทย รวมทั้งสิ้นราว 200 คน เข้าร่วมกิจกรรมปิดโครงการรีแคพที่จัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ที่ ณ เวลา โฮเต็ล แอนด์ คอนเวนชั่น จังหวัดราชบุรี โครงการการฟื้นฟูด้วยเกษตรอินทรีย์สำหรับมะพร้าวน้ำหอมอย่างยั่งยืน (รีแคพ) ดำเนินโครงการอย่างเป็นทางการตั้งแต่เดือนมิถุนายน พ.ศ. 2563 โดยความร่วมมือของบริษัท ฮาร์มเลส ฮาร์เวสท์ (ไทยแลนด์) จำกัด (Harmless

ธ.ก.ส.-GIZ เดินหน้าพัฒนาขีดความสามารถบุคลากร-เกษตรกร เตรียมความพร้อมด้านการเงินเพื่อรับมือความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ

เรื่อง: กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร ภาพ: เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ ผู้บริหารและเจ้าหน้าที่จากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ)ถ่ายรูปร่วมกัน กรุงเทพฯ 20 กันยายน พ.ศ. 2566 – ที่ห้องประชุม 801 ชั้น 8  สำนักงานใหญ่ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร   (ธ.ก.ส.) มีการจัดโครงการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อร่วมกำหนดกิจกรรมและความร่วมมือภายใต้โครงการพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Innovative Climate Risk Financing for the Agricultural Sector in the ASEAN Region

GIZ ประสานภาครัฐ-วิชาการ-เอกชน แลกเปลี่ยนแนวทางการจัดการการเผาทางการเกษตร

กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ ประเทศไทย GIZ ร่วมกับหน่วยงานพันธมิตร จัดเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อแลกเปลี่ยนความคิดเห็นประเด็นปัญหาการเผาการเผาเศษซากพืชหรือวัชพืช และเศษวัสดุทางการเกษตรในพื้นที่การเกษตรกรรม ซึ่งก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศในภาคเหนือของประเทศไทย  กิจกรรมดังกล่าวได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนา สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) เพื่อเป็นเวทีแลกเปลี่ยนความคิดเห็นเพื่อหาแนวทางร่วมกันในการจัดการปัญหาการเผาเศษซากพืชหรือวัชพืชและเศษวัสดุจากการเกษตร รวมทั้งส่งเสริมการใช้ประโยชน์ฟางข้าวอย่างยั่งยืน ว่าที่ร้อยตรีดุจเดี่ยว วงศ์ภักดิ์ เกษตรจังหวัดเชียงรายกล่าวเปิดงาน และนำเสนอโครงการต้นแบบ “เกษตรปลอดการเผา” เพื่อลดปัญหาหมอกควันและไฟป่าของจังหวัดให้กับผู้เข้าร่วมสัมมนา การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้ ได้รับเกียรติจากผู้แทนหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ได้แก่ กรมการข้าว สำนักงานจังหวัดเชียงราย สำนักงานส่วนภูมิภาคและจังหวัดจากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร ศูนย์วิจัยข้าวเชียงราย ธนาคารเพื่อการเกษตรและการเกษตรสหกรณ์ มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงในพระบรมราชูปถัมภ์  บริษัท อูรมัต จำกัด บริษัทเป๊ปซี่-โคล่า (ไทย) เทรดดิ้ง