Category: ข่าว

โครงการ SPOPP ร่วมส่งเสริมความหลากหลายและเท่าเทียมในภาคการเกษตร

เรื่องและภาพ: เรื่องโดย จันทิมา กูลกิจและธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ / กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร แม้การเกษตรมักถูกมองว่าเป็นงานสำหรับผู้ชายแท้เท่านั้น แต่ปรัชญา รัตนบัณฑิต หรือ ปัช พิสูจน์ให้เห็นว่าความมุ่งมั่นในการเรียนรู้ช่วยให้คนรอบข้างยอมรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศเช่นกัน โครงการ SPOPP ช่วยให้ปัชเข้าใจการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเรียนรู้การบริหารจัดการสวนปาล์มน้ำมันอย่างลึกซึ้งยิ่งขึ้น จนสามารถยกระดับผลผลิตของสวนปาล์มของครอบครัวได้ ปัชส่งต่อความรู้ให้กับกลุ่มเกษตรกรในพื้นที่กว่า 400 คน รวมถึงผู้คนรอบข้าง จนได้รับการยอมรับและสร้างแรงบันดาลใจให้กับผู้คนมากมาย ปรัชญา รัตนบัณฑิต หรือ ปัช เป็นอีกหนึ่งตัวอย่างที่แสดงให้เห็นถึงพลังความมุ่งมั่นและการเปิดใจยอมรับผู้ที่มีความหลากหลายทางเพศในภาคการเกษตร หลังจากต้องเผชิญกับความกังขาจากผู้คนรอบข้างที่ไม่เชื่อว่าเขามีความสามารถพอที่จะดูแลสวนปาล์มน้ำมันได้ รวมถึงกรอบความคิดแบบเดิมที่เชื่อว่าการเกษตรเป็นงานสำหรับผู้ชายแท้เท่านั้น แม้จะเติบโตมากับครอบครัวเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันในจังหวัดชุมพร แต่ปัชกลับไม่สนใจเส้นทางสายนี้ จึงตัดสินใจจากบ้านเกิดมาเรียนต่อระดับปริญญาตรีที่คณะเศรษฐศาสตร์ สาขาเศรษฐศาสตร์การตลาด มหาวิทยาลัยรังสิต เมื่อปี

GGC-GIZ ร่วมประกาศความสำเร็จการผลิตน้ำมันปาล์มยั่งยืน

เรื่องและภาพ: การผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน/กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร ผู้เข้าร่วมกิจกรรมและผู้บริหารจาก GGC และผู้แทนจาก GIZ ร่วมถ่ายรูปเป็นที่ระลึกภายหลังเสร็จสิ้นพิธีการช่วงเช้า พังงา 30 พฤษภาคม 2567 – บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศ ของเยอรมัน (GIZ) รวมทั้งโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มและกลุ่มเกษตรกรรายย่อย ร่วมกันประกาศความสำเร็จในการยกระดับ มาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน พิธีฉลองความสำเร็จของโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Sustainable Palm Oil Production and Procurement หรือ SPOPP) ครั้งนี้ จัดขึ้น

GIZ จับมือสมาชิกอาเซียน ขับเคลื่อนการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรที่เท่าทันต่อภูมิอากาศสู่วิสัยทัศน์หลังปีพ.ศ.2568

เรื่อง: เมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ / กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร; ภาพ: การเงินเชิงนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ คณะผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนกว่า 30 ท่านเข้าร่วมการประชุมทางเทคนิคระดับภูมิภาคเพื่อการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรที่เท่าทันสภาพภูมิอากาศ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เกาะบาหลี อินโดนีเซีย –  คณะผู้แทนจากรัฐสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States) ได้ร่วมอภิปรายสรุปข้อเสนอแนะสำหรับนโยบายและมาตรการการเสริมสร้างขีดความสามารถ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรในระดับภูมิภาค แม้การเกษตรจะถือเป็นรากฐานในการดำรงชีวิตของผู้คนในรัฐสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ แต่ความยั่งยืนของผลผลิตทางการเกษตรกลับเป็นที่น่ากังวล เนื่องด้วยปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่รุนแรง อาทิ ภัยแล้ง น้ำท่วม และพายุ ก่อให้เกิดความสูญเสียของพืชผลทางการเกษตรทั่วภูมิภาค ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรรายย่อยนับล้านคนจึงตกอยู่ในภาวะเสี่ยง เนื่องจากทรัพยากรทางการเงินที่จำกัด โดยเฉพาะในด้านการประกันภัยพืชผล

ประเทศไทยเตรียมพร้อมขับเคลื่อนนโยบายระดับชาติ ยกระดับภาคการผลิตข้าวสู่ความยั่งยืนแบบองค์รวม เพิ่มขีดความสามารถเกษตรกรในการปรับตัวต่อสภาวะโลกร้อน

เรื่องและภาพ: โครงการระบบการผลิตข้าวยั่งยืนแบบองค์รวม/ กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร ช่วงนำเสนอแนวคิดในการดำเนินโครงการระบบการผลิตข้าวยั่งยืนแบบองค์รวม(Inclusive Sustainable Rice Landscapes: ISRL) กรุงเทพฯ 3 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 – ที่เวทีประชุมเชิงปฏิบัติการโครงการระบบการผลิตข้าวยั่งยืนแบบองค์รวม(Inclusive Sustainable Rice Landscapes หรือ ISRL) ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเซ็นทารา ลาดพร้าว มีผู้แทนจากหน่วยงานต่าง ๆ นำโดยกระทรวงเกษตรและสหกรณ์  ประกอบด้วยงานหลัก ได้แก่ กรมการข้าว กรมพัฒนาที่ดิน กรมส่งเสริมการเกษตร และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ประกอบด้วยกรมอุทยานแห่งชาติ กรมป่าไม้ รวมทั้งภาครัฐ เอกชน

การเสริมสร้างความเข้มแข็งของตลาดข้าวปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย ผ่านการถอดบทเรียนโครงการ ไทย ไรซ์ นามา

เรื่องและภาพ: ณัฐฐา ลือชาติเมธิกุล/ กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร ขณะที่ทั่วโลกให้ความสนใจกับแนวปฏิบัติทางการเกษตรที่ยั่งยืน สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (International Rice Research Institute  หรือ IRRI) ได้จัดการประชุมนโยบายในหัวข้อ “การเสริมสร้างความเข้มแข็งให้ตลาดข้าวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำของประเทศไทย: เรียนรู้จากโครงการ ไทย ไรซ์ นามา” ณ กรุงเทพมหานคร ซึ่งประกอบด้วยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องที่รวมถึงผู้กำหนดนโยบาย นักวิชาการ นักวิจัย และตัวแทนจากภาคส่วนต่างๆ โดยเวทีนโยบายนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพูดคุยแลกเปลี่ยนและปรึกษาหารือในประเด็นการพัฒนาที่สำคัญ และความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านไปสู่การผลิตข้าวที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในประเทศไทย รวมทั้งแสดงให้เห็นว่านี่คือช่วงเวลาสำคัญสำหรับผู้มีส่วนได้ส่วนเสียที่ลงทุนในเกษตรกรรมยั่งยืน ตลอดจนนำเสนอกลยุทธ์การลดปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ เพื่อการเปลี่ยนแปลงระดับรากฐานสำหรับข้าวไทย ดร.บียอร์น โอเล ซานเดอร์ ผู้แทน IRRI ประจำประเทศไทย

คอฟฟี่ ดับเบิ้ลพลัส ประเทศไทย ส่งเสริมเกษตรกรรมเชิงฟื้นฟู พร้อมสร้างเครือข่ายวิทยากรสำหรับอบรมเกษตรกรโรบัสต้า

เรื่องและภาพ: โครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ล พลัส ประเทศไทย/ กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร คุณพัชรี พรหมฤทธิ์ ผู้แทนจากเกษตรและสหกรณ์จังหวัดชุมพร และคุณศิริวรรณ นาคมุข ผู้แทนจากเกษตรอำเภอสวี ทดสอบและสังเกตการขาดธาตุอาหารของพืชในช่วงกิจกรรมภาคบ่าย เมื่อวันที่ 22-23 เมษายน พ.ศ. 2567 องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมกับบริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จํากัด พร้อมด้วยหน่วยงานพันธมิตรหลักของโครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัสจากภาครัฐในสังกัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นำโดยกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร และกรมพัฒนาที่ดิน จัดการอบรมวิทยากรหลักสูตร “เกษตรกรรมฟื้นฟูสำหรับการปลูกกาแฟ” เป็นระยะเวลาสองวันที่โรงแรมลอฟท์ มาเนีย จังหวัดชุมพร โดยมีเจ้าหน้าที่จากกรมส่งเสริมการเกษตร กรมวิชาการเกษตร กรมพัฒนาที่ดิน