Category: กิจกรรม

GIZ จับมือสมาชิกอาเซียน ขับเคลื่อนการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรที่เท่าทันต่อภูมิอากาศสู่วิสัยทัศน์หลังปีพ.ศ.2568

เรื่อง: เมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ / กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร; ภาพ: การเงินเชิงนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ คณะผู้แทนจากประเทศสมาชิกอาเซียนกว่า 30 ท่านเข้าร่วมการประชุมทางเทคนิคระดับภูมิภาคเพื่อการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรที่เท่าทันสภาพภูมิอากาศ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2567 เกาะบาหลี อินโดนีเซีย –  คณะผู้แทนจากรัฐสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States) ได้ร่วมอภิปรายสรุปข้อเสนอแนะสำหรับนโยบายและมาตรการการเสริมสร้างขีดความสามารถ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการประกันภัยพืชผลทางการเกษตรในระดับภูมิภาค แม้การเกษตรจะถือเป็นรากฐานในการดำรงชีวิตของผู้คนในรัฐสมาชิกอาเซียนส่วนใหญ่ แต่ความยั่งยืนของผลผลิตทางการเกษตรกลับเป็นที่น่ากังวล เนื่องด้วยปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงทางสภาพอากาศที่รุนแรง อาทิ ภัยแล้ง น้ำท่วม และพายุ ก่อให้เกิดความสูญเสียของพืชผลทางการเกษตรทั่วภูมิภาค ด้วยเหตุนี้ เกษตรกรรายย่อยนับล้านคนจึงตกอยู่ในภาวะเสี่ยง เนื่องจากทรัพยากรทางการเงินที่จำกัด โดยเฉพาะในด้านการประกันภัยพืชผล

โครงการคอฟฟี่ ดับเบิ้ลพลัสกับกิจกรรมการให้ความรู้เกษตรกร ณ ศูนย์รับซื้อกาแฟสวี และกระบุรี

เรื่อง:วีรินทร์ภัทร์ เจนวัฒนากูล / กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร ภาพ:โครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัสประเทศไทย การสาธิตทดสอบความคงตัวของเม็ดดิน เพื่อให้เกษตรกรเห็นความคงทนและการเกาะยึดของเม็ดดิน และเห็นความแตกต่างระหว่างดินที่มีสุขภาพดี กับดินทั่วไปที่มีอินทรียวัตถุต่ำ ช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี เป็นช่วงเวลาทองของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสตาในจังหวัดชุมพร ระนองและจังหวัดใกล้เคียงเพราะเป็นฤดูกาลเก็บเกี่ยว และซื้อ-ขายผลผลิตเมล็ดกาแฟ อย่างไรก็ตาม เป็นที่น่าสังเกตว่าการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศกำลังส่งผลกระทบโดยตรงกับเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสตา เนื่องจากฤดูกาลเก็บเกี่ยวปีล่าสุดคือช่วงปลายปีพ.ศ. 2566 ถึงต้นปีพ.ศ. 2567 เมล็ดกาแฟสุกช้า ทำให้ตารางการเก็บเกี่ยวของเกษตรกรต้องล่าช้าออกไป ผลผลิตยังลดลงด้วย ทำให้ราคารับซื้อกาแฟสูงกว่าปีก่อน ๆ ซึ่งจะเริ่มเก็บผลผลิตได้ในเดือนตุลาคม โครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัสประเทศไทย โดย บริษัท เนสท์เล่ (ไทย) จำกัด และ GIZ จึงได้จัดกิจกรรมให้ความรู้เรื่องการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ กับเกษตรกรที่มาขายกาแฟที่ศูนย์รับซื้อกาแฟสวี

ธ.ก.ส. – GIZ เดินหน้าความร่วมมือส่งเสริมเกษตรกรเข้าการจัดการเงินเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เรื่อง: เมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ นที ทองจันทร์ และณัฐธิสา โพธิ์ถึง / กลุ่มโครงการเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร ผู้แทน ธ.ก.ส. และ GIZ ประเทศไทย เข้าร่วมประชุมเชิงปฎิบัติการในหัวข้อการเงินเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรของไทย ผู้แทนจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์เกษตร (ธ.ก.ส.) และ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit) หรือ GIZ ประเทศไทย ได้จัดการประชุมเชิงปฎิบัติการ ในหัวข้อการเงินเพื่อรับมือต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรของไทย เมื่อวันที่ 12-14 มีนาคม พ.ศ. 2567 ณ

ชาวลุ่มน้ำยม-น่าน ร่วมใจฝึกฝนรับมือวิกฤตน้ำจากภูมิปัญญาท้องถิ่น

เรื่อง: รวิวรรณ บุญไชย ภาพ: พงศ์นรินทร์ สุขแจ่ม/กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร ผู้แทนจากกรมชลประทาน สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติ สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ตัวแทนผู้ใช้น้ำ และตัวแทนชุมชนในพื้นที่โครงการ จำนวน 16 คนเข้าร่วมการอบรมเชิงปฏิบัติการเพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการน้ำที่ยั่งยืนในพื้นที่ลุ่มน้ำยมระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์ – 1 มีนาคม 2567 ที่โรงแรมหรรษนันท์ จังหวัดพิษณุโลก ลุ่มแม่น้ำยม-น่านเป็นหนึ่งในพื้นที่ที่มีความสำคัญทั้งในเชิงภูมิประเทศและภาคการเกษตรและการบริหารจัดการน้ำ อย่างไรก็ตามเกษตรกรในพื้นที่กลับได้รับผลกระทบจากภาวะแห้งแล้งและน้ำท่วม โดยปัญหาการจัดการน้ำทวีความรุนแรงยิ่งขึ้นท่ามกลางสภาวะโลกร้อน   องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) และกรมชลประทาน (ชป.) ตระหนักถึงความสำคัญของทั้งชุมชน ภาครัฐ และเอกชน เพื่อเปลี่ยนผ่านไปสู่การจัดการน้ำที่ยั่งยืนในพื้นที่ จึงได้จัดอบรมเชิงปฏิบัติการขึ้นเป็นระยะเวลา

ตัวแทนภาครัฐและเอกชนของอาเซียน แอคเซส ร่วมหารือเพื่อพัฒนาแพลตฟอร์มอย่างยั่งยืน

เรื่อง: ญาณินท์ ศรีอุดมพงษ์ ภาพ: รัตชปรัจศ์ สาแก้ว ดร.วีระพงศ์ มาลัย ผู้อำนวยการสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม (สสว.) ประเทศไทย ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากภาครัฐและเอกชนของอาเซียน แอคเซส ร่วมหารือเพื่อวางแนวทางปฏิบัติในการพัฒนาแพลตฟอร์มระดับภูมิภาค พร้อมแลกเปลี่ยนกลยุทธ์การประชาสัมพันธ์และวิธีการใช้แพลตฟอร์มให้เกิดประโยชน์สูงสุด ในการประชุมประจำปีของสมาชิกอาเซียน แอคเซส ซึ่งจัดขึ้นที่กรุงเทพมหานครระหว่างวันที่ 27 – 28 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2567 โดยมีผู้แทนกว่า 26 คน จากหน่วยประสานงานกลางของแต่ละประเทศ (National Focal Point) พันธมิตรเครือข่าย (Network Partners) และทูตกิจกรรมอาเซียน

ไทย-เยอรมัน ส่งเสริมชาวนาปลูกข้าวลดโลกร้อน พร้อมปรับตัวสู่วิถีเกษตรยั่งยืน

เรื่องและภาพ:กลุ่มโครงการเกษตรและอาหาร/GIZ ประเทศไทย ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ดร.ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ (H.E. Dr. Frank-Walter Steinmeier) และภริยานางเอลเคอ บือเดนเบนเดอร์ (Elke Budenbender) พร้อมคณะ รับฟังการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการระบบการผลิตข้าวยั่งยืนแบบองค์ (Inclusive Sustainable Rice Landscapes Project)จากดร.อรรถวิชย์ วัชรพงศ์ชัย ผู้จัดการโครงการฯ ประธานาธิบดีแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี ดร.ฟรังค์-วัลเทอร์ ชไตน์ไมเออร์ (H.E. Dr. Frank-Walter Steinmeier) และภริยานางเอลเคอ บือเดนเบนเดอร์ (Elke Budenbender) พร้อมคณะ รับฟังการนำเสนอข้อมูลเกี่ยวกับโครงการระบบการผลิตข้าวยั่งยืนแบบองค์