Category: กิจกรรม

โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TGC-EMC): ความมุ่งมั่นร่วมกันสู่เป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนจากภาคเกษตรของประเทศไทย

เรื่องและภาพ: เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 30% ภายในปี 2030 ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยยังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ในขณะที่ส่วนแบ่งจากการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนยังต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานยั่งยืนของประเทศไทย จึงได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือไทย–เยอรมันด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Thai-German Cooperation on Energy, Mobility, and Climate (TGC-EMC) คุณ พีรพันธ์ คอทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวเปิดงาน โครงการ TGC-EMC เป็นความร่วมมือระหว่างไทยและเยอรมนีเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานของประเทศไทยไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการฯ ประกอบด้วยห้าภาคส่วน ได้แก่ ภาคส่วนพลังงานชีวมวล (Biomass) ภาคส่วนพลังงานหมุนเวียน (Renewable

บางจากชู “ข้าวลดโลกร้อน”จากโครงการไทยไรซ์นา ให้เป็นสินค้าที่ระลึกวันสิ่งแวดล้อมโลก

Photos: Kiattiyote Wongudomlert, Agriculture and Food Cluster/ GIZ Thailand ผู้แทนเกษตรกรจากวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่เกษตรสมัยใหม่ตำบลเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี ส่งมอบ “ข้าวลดโลกร้อน” จำนวน 40 ตัน ให้กับนายสมชัย เตชะวณิช ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด กลุ่มธุรกิจการตลาด บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ บางจากฯ รับซื้อจากวิสาหกิจชุมชน ผ่านบริษัท ออมสุขวิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เพื่อนำมาเป็นสินค้าสมนาคุณแก่ลูกค้าสถานีบริการบางจากที่ร่วมรายการ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลอดเดือนมิถุนายน

ธ.ก.ส. และ GIZ ร่วมศึกษาดูงานประเทศเยอรมนีเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนากลไกการเงินสีเขียวและนวัตกรรมการเงินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

เรื่องและภาพ นรวิชญ์ สุวรรณกาญจน์, กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร คณะผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เดินทางศึกษาดูงานด้านการพัฒนากลไกการเงินสีเขียวและนวัตกรรมการเงินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 22 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรและการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอย่างยั่งยืน รวมทั้งเปิดโอกาสผู้บริหารของธ.ก.ส.ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สมาคมการเกษตร รวมถึงสถาบันการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลไกหรือเครื่องมือทางการเงิน และรูปแบบธุรกิจการเกษตรที่ส่งเสริมความยั่งยืนทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของเยอรมัน โดยเฉพาะประเด็นสำคัญคือการรองรับความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษาดูงานในครั้งนี้ว่าเป็นการส่งเสริมให้คณะศึกษาดูงานได้เรียนรู้แนวทางการพัฒนารูปแบบการเงินสีเขียว การสร้างนวัตกรรมการเงินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งสอดคล้องการนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ของประเทศไทย รวมถึงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม  และบรรษัทภิบาล (Environmental,

กรมชลประทาน-GIZ เปิดตัวโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย

เรื่องและภาพ กรมชลประทาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะเริ่มต้น (Inception workshop) โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing Climate Resilience in Thailand through Effective Water Management and Sustainable Agriculture) โดยมีผู้แทนสำนักงานชลประทานระดับภาค ผู้แทนจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) และผู้แทนจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

GIZ เปิดตัวโครงการการพัฒนาบริการทางการเงินเชิงนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมภาคเกษตรไทยรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ

เรื่องและภาพโดย: กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เปิดตัวโครงการมูลค่า สี่ล้านยูโร หรือราว 150ล้านบาท เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรายย่อยของไทยและภูมิภาคอาเซียนให้สามารถเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินที่จำเป็นเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศในภาคเกษตร โครงการการพัฒนาบริการทางการเงินเชิงนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศสำหรับภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Innovative Climate Risk Financing for the Agricultural Sector in the ASEAN Region:Agri-Climate Risk Financing) ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน (BMZ) โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เป็นผู้ดำเนินโครงการทั้งในระดับภูมิภาคผ่านแผนกอาหาร เกษตรและป่าไม้ ของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน (The

ไทยประกาศความสำเร็จความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน พร้อมเดินหน้าใช้ใบรับรองสุขอนามัยพืช อิเล็กทรอนิกส์ (ePhyto) เพื่ออำนวยความสะดวกการส่งออกเต็มรูปแบบ

เรื่องและภาพประกอบ:โครงการ ePhyto ประเทศไทย กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และกรมศุลกากร เห็นชอบร่วมกันส่งเสริมการใช้ ePhyto หรือใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการส่งออกของไทยผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล การใช้ ePhyto สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของภาครัฐที่จะแก้ปัญหาระบบเอกสารและช่วยลดขั้นตอนการดำเนินงานด้านการส่งออกให้กระชับรวดเร็วยิ่งขึ้น ประเทศไทยออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ให้กับผู้ส่งออกสินค้าประเภทพืชและผลิตภัณฑ์พืช สู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลก รวมทั้งหมด 392,532 ฉบับต่อปี (ค่าเฉลี่ยช่วงปี 2563-2565) ซึ่งการใช้ ePhyto จะสามารถลดค่าใช้จ่ายจากในการเดินทางของผู้ประกอบการ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ได้กว่า 166 ล้านบาทต่อปี หรือ 4.89 ล้านเหรียญดอลล่าร์ ประเทศไทยประกาศความสำเร็จความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน ส่งเสริมการใช้ใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic