Category: ข่าว

เพิ่มศักยภาพนวัตกรรมการประกันภัยทางการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน หนุนเกษตรกรเตรียมพร้อมรับมือกับสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง

ศรีจักรภัทร เฉลิมชัย กลุ่มเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร ผู้เชี่ยวชาญภาคการเกษตรและประกันภัยแนะประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จำเป็นต้องสร้างนวัตกรรมและเครือข่ายความร่วมมือที่แข็งแกร่งระหว่างภาครัฐและเอกชนอย่างเร่งด่วน เพื่อจัดการความเสี่ยงทางการเกษตรที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร การเงิน รวมถึงตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนกว่า 60 คน เข้าร่วมพูดคุยและประเมินบทบาทด้านการเงิน นวัตกรรม เทคโนโลยีสำหรับการประกันภัยภาคการเกษตรเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การจัดการความเสี่ยงทางการเงินของภาคการเกษตรเป็นประเด็นสำคัญที่มีการถกรายละเอียดเชิงลึกในเวทีประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งล่าสุด จัดโดยสำนักงานเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat) ร่วมกับเครือข่ายการประกันภัยรายย่อย (Microinsurance Network: MiN)  และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (Deutsche Gesellschaft für Internationale Zusammenarbeit: GIZ) ประจำประเทศไทย การประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งนี้มีผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตร การเงิน รวมถึงตัวแทนจากภาครัฐและเอกชนกว่า 60 คน เข้าร่วมพูดคุยและประเมินบทบาทด้านการเงิน

การจัดการฟางเพื่อลดค่าใช้จ่ายจากการทำนาและลดโลกร้อน

เรื่อง: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ: ศรีจักรภัทร เฉลิมชัย กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร สิบโมงเช้าของทุกวันเป็นเวลาที่เพียงใจ แก่นอาสา และมณีรัตน์ แก่นพรม เพื่อนสนิทสมัยมัธยมของเธอ เพิ่งจะเสร็จสิ้นภารกิจการให้อาหารวัวที่เลี้ยงด้วยหญ้าแห้งบริเวณที่นา 24 ไร่อำเภอสำโรง ซึ่งอยู่ห่างจากตัวเมืองอุบลราชธานีไปราว 1 ชั่วโมง ฤดูกาลทำนาปีที่ผ่านมา เพียงใจ สามารถเก็บก้อนฟางอัดได้มากกว่า 200 ก้อน ปริมาณฟางอัดก้อนที่เก็บได้สามารถนำมาเลี้ยงวัวที่ครอบครัวเธอเลี้ยงไว้ได้ตลอดทั้งปี โดยเธอจ่ายเงินค่าบริการอัดก้อนฟางเพียง 2,000 บาท ค่าใช้จ่ายส่วนนี้ เทียบไม่ได้เลยหากต้องไปซื้อฟางมาเลี้ยงวัวเพราะราคาจะพุ่งสูงถึง 25-30 บาทต่อก้อนเลยทีเดียว เพียงใจ แก่นอาสากำลังให้ฟางวัว ฟางเหล่านี้เก็บจากที่นาของตนเองและนำมาอัดเป็นก้อน วัวหนึ่งตัวสามารถกินฟางข้าวได้มากถึง

ประเทศไทยพัฒนาแผนงานส่งเสริมชาวนาปลูกข้าวลดโลกร้อน เร่งเปิดทางรายย่อยเข้าถึงแหล่งทุนสีเขียว

นรวิชญ์ สุวรรณกาญจน์ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร กรมการข้าวจับมือจีไอแซดตั้งเป้าส่งเสริมการทำนา เพิ่มขีดความสามารถชาวนาไทยให้สามารถปรับตัวและพร้อมรับมือกับการเปลี่ยนแปลงของสภาพภูมิอากาศที่ทวีความรุนแรงยิ่งขึ้น รวมถึงการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่เป็นอันตรายต่อภูมิอากาศโลก  ดร. อันญ่า เอิลเบค ดร. อันญ่า เอิลเบค ผู้อํานวยการส่วนธนกิจการเกษตร กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร กล่าวว่า เมื่อเร็ว ๆ นี้ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำเทศไทย ร่วมกับกรมการข้าวพัฒนาแผนงานเพื่อการปลูกข้าวที่มีคุณสมบัติช่วยลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกและช่วยให้ชาวนาสามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศภายใต้ชื่อโครงการ “การเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวที่เท่าทันต่อภูมิอากาศ” หรือเรียกสั้น ๆ ว่า “Thai Rice GCF” เพื่อนำเสนอให้กับกองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund: GCF) ซึ่งเป็นกลไกทางการเงินภายใต้กรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อให้การสนับสนุนประเทศกำลังพัฒนาเตรียมความพร้อมและสามารถพัฒนาวิธีการปลูกข้าวลดโลกร้อนได้อย่างยั่งยืน

ไทยเล็งหาพันธมิตรแหล่งทุนสีเขียวสนับสนุนการจัดการข้าวยั่งยืน

ศรีจักรภัทร เฉลิมชัย กลุ่มการเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร เมื่อเร็ว ๆ นี้ ผู้เชี่ยวชาญและหุ้นส่วนภาคการผลิตข้าว จำนวนกว่า 50 คนจากหน่วยงานภาครัฐ ภาคเอกชน และองค์กรระหว่างประเทศ เข้าร่วมประชุมเวทีออนไลน์ในหัวข้อ “การจัดหาเงินทุนสนับสนุนข้าวอย่างยั่งยืนในประเทศไทย” (Financing Sustainable Rice in Thailand) เพื่อระดมสมอง แลกเปลี่ยนมุมมองและข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการจัดหาเงินทุนและแนวทางการพัฒนานวัตกรรม เพื่อผลักดันการปลูกข้าวอย่างยั่งยืนในประเทศไทยและภูมิภาค กิจกรรมในครั้งนี้จัดโดยโครงการริเริ่มภูมิทัศน์ข้าวอย่างยั่งยืน (Sustainable Rice Landscapes Initiative: SRLI) และแพลตฟอร์ม Just Rural Transition ที่มุ่งเน้นการแก้ไขปัญหาความท้าทายในห่วงโซ่อาหาร ร่วมกับสภาธุรกิจโลกเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (World

เยาวชนไทยร่วมส่งเสริมการปลูกกาแฟอย่างยั่งยืน

เรื่องแปล: ศรีจักรภัทร เฉลิมชัย กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหารว; ภาพ: สรรเพชร กิจไพบูลทวี กชกร จิตโสภา และวันวิสาข์ พานิช สรรเพชร กิจไพบูลทวี เติบโตในครอบครัวชาวสวนในพื้นที่จังหวัดกระบี่ ครอบครัวของเขาทำสวนปาล์มร่วมกับการปลูกผักพื้นบ้านและไม้ผลพื้นเมือง การทำสวนแบบดั้งเดิมที่ต้องใช้ระยะเวลาและแรงงานจำนวนมาก สวนทางกับรายได้ที่ได้รับ ซึ่งปัจจัยเหล่านี้ทำให้เขาตัดสินใจศึกษาต่อด้านการจัดการสวนเกษตรในมหาวิทยาลัย ปัจจุบันสรรเพชร หรือโอ๊ต กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 3 ภาควิชาเศรษฐศาสตร์เกษตรและธุรกิจเกษตร คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ เมื่อเร็ว ๆ นี้ โอ๊ตและเพื่อนนักศึกษาอีก 2 คน ได้เข้าร่วมการฝึกงานในโครงการพัฒนาระบบการผลิตกาแฟของผู้ประกอบการรายย่อย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือคอฟฟี่พลัส เป็นระยะเวลา

นักวิจัยข้าวไทยพร้อมเดินหน้ารับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

เรื่องและภาพ: โชติกา ธรรมสุวรรณ และพัชรินทร์ แซ่เฮง กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร เมื่อเร็ว ๆ นี้ กรมการข้าวร่วมกับโครงการความร่วมมือ ไทย – เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม (Thai-German Climate Programme – Agriculture) จัดการฝึกอบรมออนไลน์ในหัวข้อการคำนวณค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ซึ่งเป็นหนึ่งในแผนงานที่เรียกว่า การตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (Measurement, Reporting and Verification – MRV) ดร.โธมัส แยเคล ผู้เชี่ยวชาญจาก GIZ