Category: ข่าว

หลักสูตร TOPSA ออนไลน์ช่วยขยายองค์ความรู้การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน

เรื่องและภาพ: จันทิมา กูลกิจ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ท่ามกลางสถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 และมาตรการควบคุมต่าง ๆ  ส่งผลให้ทุกภาคส่วนต้องปรับตัวและหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น และเดินหน้าการทำงานรวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขวิถีชีวิตใหม่ และการเว้นระยะห่างทางสังคม ความก้าวหน้าเทคโนโลยีปัจจุบันทำให้การเรียนออนไลน์ การทำงานจากที่บ้าน และการจัดกิจกรรมสัมมนาต่าง ๆ เป็นไปได้อย่าง ช่วยลดค่าใช้จ่ายการเดินทาง การปล่อยก๊าซเรือนกระจก และการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัสได้อย่างมีประสิทธิภาพ ด้วยเหตุนี้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (Sustainable and Climate-Friendly Palm Oil Production and Procurement: SCPOPP) จึงได้จัดการฝึกอบรมออนไลน์ (Online Training) เพื่อให้ผู้ที่เข้าร่วมได้เรียนรู้บทเรียนและแบ่งปันมุมมองเกี่ยวกับการผลิตน้ำมันปาล์มที่ยั่งยืนและเพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีให้กับเกษตรกรรายย่อย ตัวแทนจากโรงงานสกัดน้ำมันปาล์ม

2 บริษัทผู้ผลิตน้ำมันปาล์มของไทยย้ำ “การผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน” สำคัญที่สุด

เรื่อง: กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร การขับเคลื่อนแนวทางเพื่อการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน ต้องมาจากความร่วมมือของทุกภาคส่วน แต่ในฐานะผู้ผลิตของอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์ม ซึ่งมีบทบาทในการผลิตอย่างมาก จึงต้องเป็นเสาหลักสำคัญที่จะทำให้เมืองไทยเกิดการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนได้จริง สิ่งนี้คือ ความพยายามของน้ำมันพืชปทุม และน้ำมันพืชมรกต 2 ผู้ผลิตที่ใส่ใจความยั่งยืนในเมืองไทย ได้เล็งเห็นความสำคัญ และร่วมกันผลักดันการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนอย่างต่อเนื่องมาโดยตลอด คุณศาณินทร์ ตริยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำมันพืชปทุม จำกัดและนายกสมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทย คุณศาณินทร์ ตริยานนท์ กรรมการผู้จัดการ บริษัท น้ำมันพืชปทุม จำกัดและนายกสมาคมผู้ผลิตไบโอดีเซลไทยกล่าวว่า “การพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน ชาวสวน โรงสกัด โรงกลั่น รวมถึงโรงไบโอดีเซล และกลุ่มอุตสาหกรรมโอลีโอเคมีคัลส์ ต้องไปด้วยกัน” สำหรับการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน คุณศาณินทร์ ให้ความเห็นไว้ว่าการพัฒนาไปสู่ความยั่งยืน

เกษตรกรต้นแบบร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์พร้อมเดินหน้าการปลูกมะพร้าวยั่งยืน

ศรีจักรภัทร เฉลิมชัย กลุ่มเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร เจ้าหน้าที่จากฮาร์มเลส ฮาร์เวสท์ ให้คำแนะนำแก่เกษตรกรต้นแบบเกี่ยวกับผลการทดสอบดินของเกษตรกรแต่ละราย ราชบุรี – ในช่วงที่ประเทศไทยอุณหภูมิเกือบ 40 องศาเซลเซียส แต่ที่ อะโรแมติก ฟาร์ม (Aromatic Farm) อำเภอดำเนินสะดวก จังหวัดราชบุรี แหล่งปลูกมะพร้าวที่ขึ้นชื่อว่าดีที่สุดในโลกยังคงพอมีร่มเงา และลมเย็นสบาย กลุ่มเกษตรกรสามารถยืนพูดคุยแลกเปลี่ยนความรู้กันกลางแจ้งได้พร้อมกับดื่มมะพร้าวน้ำหอมคลายร้อน ไปพร้อม ๆ กับเนื้อมะพร้าวอ่อนหอมหวานแสนอร่อยที่พบได้เฉพาะพันธุ์พิเศษของประเทศไทยเท่านั้น ทุกคนมารวมตัวกันทำ “กิจกรรมพบปะเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับเกษตรกรต้นแบบ” (ReCAP Pilot Farmers’ Reunion) และเยี่ยมชมสวนมะพร้าวเกษตรอินทรีย์วิถีไทย นับเป็นการรวมตัวครั้งแรกของเกษตรกรต้นแบบทั้งหมด 13 คน หลังจากได้เข้าร่วมกิจกรรมฝึกอบรมการฟื้นฟูเกษตรอินทรีย์อย่างยั่งยืน

กลุ่มวิทยากรหลักสูตร TOPSA พร้อมเดินหน้าถ่ายทอดความรู้การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน

เรื่องและภาพ: ธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิทยากรคือกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจการต่อยอดความรู้มาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนในกลุ่มเกษตรกรปาล์มน้ำมัน ปัจจุบันมีวิทยากร จำนวนถึง 320 รายที่ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาเกษตรกรรายย่อยของไทยในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (Thailand Oil Palm Smallholder Academy: TOPSA) สามารถถ่ายทอดความรู้มาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรแล้วกว่า 3,000 ราย ในจำนวนนี้กว่า 2,500 รายยังได้รับการฝึกอบรมในเรื่องมาตรฐานปาล์มยั่งยืน (Roundtable for Sustainable Palm Oil หรือ RSPO) การบริหารจัดการกลุ่ม  ระบบควบคุมภายใน และการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมัน หลักสูตร TOPSA เป็นหลักสูตรสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการผลิตน้ำมันปาล์มตามมาตรฐาน RSPO

อีกหนึ่งก้าวสำคัญในการบรรลุเป้าหมายการส่งเสริมการผลิตข้าวอย่างยั่งยืนของประเทศไทย

เรื่องและภาพ: โชติกา ธรรมสุวรรณ และพัชรินทร์ แซ่เฮง กลุ่มเกษตรและอาหาร ประเทศไทยเป็นผู้ส่งออกข้าวชั้นนำของโลกมาเป็นระยะเวลานานและหนึ่งภารกิจสำคัญของประเทศ คือการเป็นหนึ่งในผู้นำการผลิตและส่งออกข้าวอย่างยั่งยืน ขณะนี้กรมการข้าวและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ส่งเสริมการผลิตข้าวอย่างยั่งยืนอย่างเต็มกำลังในสองภูมิภาค ได้แก่ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ดร. อภิชาติ พงษ์ศรีหดุลชัย อดีตอธิบดีกรมการข้าว และคุณมนตรี พรหมลักษณ์ ผู้จัดการภาคสนาม โครงการ BRIA II ที่มาของการผลิตข้าวอย่างยั่งยืนในประเทศไทยเริ่มต้นที่ โครงการริเริ่มข้าวที่ดีขึ้นแห่งเอเชีย (BRIA) ซึ่งดำเนินการในจังหวัดอุบลราชธานีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2556 ถึง 2560 โดย GIZ และพันธมิตรจากทั้งภาครัฐและเอกชน ด้วยคำขวัญที่ว่า“ Better Rice,

ตลาดนำการเกษตรเชื่อมโยงชาวนากับห่วงโซ่การผลิตข้าวยั่งยืน

เรื่อง: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ: รินดา แก้วขอนแก่น องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เป็นเวลากว่า 20 ปีแล้ว ที่คุณอุดร คำวงษา ได้ผันตัวจากการทำงานช่างไฟฟ้ากลับมาทำอาชีพเกษตรกรผู้ปลูกข้าวที่บ้านเกิดของเธอในอำเภอวารินชำราบ จังหวัดอุบลราชธานี (จากซ้ายไปขวา) คุณอุดร คำวงษาและ คุณมนตรี พรหมลักษณ์ ผู้จัดการพื้นที่โครงการริเริ่มข้าวที่ดีขึ้นแห่งเอเชีย ในฐานะชาวนารุ่นที่ 3 ของครอบครัว ตัวแทนของชุมชน และคุณแม่เลี้ยงเดี่ยววัย 43 ปี อุดรชื่นชอบที่จะเรียนรู้และแสวงหาวิธีการใหม่ ๆ เพื่อปรับปรุงพื้นที่นาและผลผลิตข้าวของตนเองอยู่เสมอ เธอมักจะหาเวลาว่างจากการทำนา ไปเข้าร่วมการฝึกอบรมและสัมมนาที่จัดขึ้นโดยเจ้าหน้าที่เกษตรและองค์กรพัฒนาเอกชนต่าง ๆ ในปีพ.ศ.