Category: ข่าว

เปลี่ยนนาทุ่งกุลาร้องไห้ให้เป็นพื้นที่แห่ง “ข้าวหอมมะลิยั่งยืน”

เรื่องโดย: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) สำราญ ซุยคง ชาวนาหญิงแกร่งแห่งทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดร้อยเอ็ดหยุดจับจอบเสียมชั่วคราวเพื่อมาจับไมค์ในฐานะ“วิทยากรการผลิตที่ยั่งยืน” (Smart Farmer) ในเวทีการอบรมผู้นำเกษตรกร โครงการข้าวหอมมะลิยั่งยืน ซึ่งจัดขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ถึงแม้จะเป็นครั้งแรกที่ต้องออกมาบรรยายให้กับเพื่อน ๆ เกษตรกรและยังรู้สึกประหม่าอยู่บ้าง แต่เวลาหนึ่งชั่วโมงครึ่งของการแลกเปลี่ยนประสบการณ์ทำนาและเทคนิคการปลูกข้าวผ่านไปอย่างสนุกสนานและเต็มไปด้วยเสียงหัวเราะ สำราญ ซุยคง ชาวนาหญิงแกร่งแห่งทุ่งกุลาร้องไห้จังหวัดร้อยเอ็ดหยุดจับจอบเสียมชั่วคราวเพื่อมาจับไมค์ในฐานะ“วิทยากรการผลิตที่ยั่งยืน” เวทีนี้นับเป็นครั้งแรกที่เปิดโอกาสให้เกษตรกรในดินแดน ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ได้ถ่ายทอดความรู้และประสบการณ์ตรงจากการปลูกข้าวยั่งยืน รวมทั้งเทคนิคการทำนารูปแบบต่าง ๆ ให้กับเพื่อนวิทยากรเกษตรกรในพื้นที่ใกล้เคียงจำนวน 52 คนเพื่อทำให้เกิดกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ซึ่งกันและกันและเตรียมพร้อมในการเป็นวิทยากรชาวนาที่ยั่งยืน ชาวนาหญิงวัย 47 ปีจากตำบลทุ่งหลวง อำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดท่านนี้คือหนึ่งในชาวนากว่า

จีไอแซดจับมือภาครัฐ-เอกชนเดินหน้าเชื่อมโยงตลาดข้าวยั่งยืนเพื่อเกษตรกรไทย

เขียนโดย: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) โครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (ประเทศไทย) ชูอุบลราชธานี ร้อยเอ็ด และสุรินทร์ให้เป็นพื้นที่นำร่องผลิตข้าวยั่งยืนพร้อมตั้งเป้าหมายผลผลิตไม่น้อยกว่า 1.5 แสนตัน สร้างโอกาสส่งออกข้าวยั่งยืนในตลาดโลก อุบลราชธานี วันที่ 15 ตุลาคม 2563 – องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย ภายใต้โครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (ประเทศไทย) (Market-oriented Small Holder Value Chain: MSVC TH) หรือ เบรีย 2 (BRIA

“ผลิตภัณฑ์อินทรีย์” อาชีพเสริมสร้างรายได้งามจากสวนปาล์มน้ำมัน

เรื่องโดย: ธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ/ Food and Agriculture Cluster/ GIZ Thailand ปัจจุบันอาชีพเสริมทางการเกษตรได้รับความสนใจเพิ่มมากขึ้นในกลุ่มเกษตรกร โดยเฉพาะเกษตรกรปาล์มน้ำมันที่ต้องเผชิญกับความผันผวนของคุณภาพผลผลิตและราคาของตลาดโลก รวมทั้งต้นทุนที่ปรับตัวสูงขึ้น ส่งผลต่อรายได้และความเป็นอยู่ของเกษตรกร ดังนั้นการหารายได้เพื่อเสริมต้นทุนของปัจจัยการผลิต และเป็นทางเลือกในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จึงเข้ามามีบทบาทสำคัญ คน ช้าง และสวนปาล์มสามารอยู่ร่วมกันได้และไม่ทำร้ายกัน คุณระเบียบ การเร็ว เป็นเกษตรกรหญิงชาวสวนปาล์มน้ำมัน ตำบลทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่ อีกคนที่มองหารายได้เสริมจากอาชีพสวนปาล์มของครอบครัวและได้มีการลองผิดลองถูกจนกระทั่งประสบความสำเร็จจนถึงทุกวันนี้ “การหมั่นศึกษาหาความรู้ และมองหาโอกาสจากสิ่งรอบตัว ทำให้เรามีอยู่มีกินในทุกสถานการณ์” คุณระเบียบกล่าว ระเบียบ การเร็ว เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำมัน ตำบลทับปริก อำเภอเมือง จังหวัดกระบี่

“โรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร” เสริมสร้างศักยภาพสู่การเป็นนักธุรกิจเกษตรมืออาชีพ

เขียนโดย : Apiradee Treerutkuarkul / Food and Agriculture Cluster/ GIZ Thailand ศิริวรรณ นาคมุข นักวิชาการส่งเสริมการเกษตร อำเภอสวี จังหวัดชุมพร รู้สึกประหลาดใจเมื่อเธอกับเพื่อนในกลุ่มแจกแจงรายละเอียดค่าใช้จ่ายครัวเรือนและพบว่ามีรายจ่ายมากถึง 45,000 บาทต่อเดือน “การปรับเปลี่ยนวิธีบริหารจัดการเงินและควบคุมค่าใช้จ่ายเป็นสิ่งสำคัญที่เกษตรกรควรเรียนรู้และลงมือปฏิบัติอย่างจริงจัง วิธีบริหารจัดการการเงินในรูปแบบของการจดบันทึกรายรับรายจ่ายและแผนการเงินตลอดปี จะช่วยให้การทำธุรกิจการเกษตรสร้างรายได้หรือผลกำไรที่ยั่งยืนให้กับครัวเรือนและชุมชนได้” คุณศิริวรรณ กล่าว   คุณศิริวรรณกล่าวด้วยว่า เธอจะนำความรู้ที่ได้จากการอบรมครั้งนี้ไปทดลองใช้กับเกษตรสวนผสมจำนวน 40 ไร่ของครอบครัวเพื่อเป็นตัวอย่าง พร้อมนำไปถ่ายทอดให้กับเกษตรกรในพื้นที่นำไปทดลองปฏิบัติโดยการปลูกกาแฟแซมกับสวนปาล์มและสวนผลไม้ในพื้นที่ ในฐานะวิทยากรส่งเสริมการเกษตรประจำอำเภอ “เกษตรกรจะเรียนรู้ได้ดีที่สุดเมื่อเห็นตัวอย่างและได้ลงมือทำ” การทำบัญชีรายจ่ายรายรับเช่นนี้เป็นหนึ่งใน 12 บทเรียนสำคัญของการก้าวไปสู่การเป็น

เสียงสะท้อนจากมรกต ตอกย้ำการผลิตน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน ทำได้จริง

เขียนโดย : กนกวรรณ ศาศวัตเตชะ ผู้จัดการโครงการ ใครหลายๆ คน อาจจะตั้งคำถามในใจว่า ทำไมเราจึงต้องร่วมกันผลักดันให้มีการปลูกปาล์มอย่างยั่งยืน การผลิตน้ำมันปาล์มให้เกิด “ความยั่งยืน” เป็นแนวปฏิบัติที่เกิดขึ้นทั่วโลก และในประเทศไทยก็เช่นกัน การผลักดันเรื่องนี้ไม่ได้เป็นเพียงนิยาม แต่เป็นนโยบายสำคัญที่เราต้องดำเนินต่อไป และน้ำมันพืชมรกต เป็น 1 ในองค์กรที่กำลังดำเนินการในเรื่องนี้ และการปลูกปาล์มอย่างยั่งยืน ส่งผลดีอย่างไรวันนี้เราจะมาพูดคุยกับ คุณนุชนาถ สุขมงคล ผู้จัดการทั่วไป บริษัท ไซม์ ดาร์บี้ ออยส์ มรกต จำกัด มหาชน ผู้ผลิตและจัดจำหน่ายน้ำมันพืชมรกต เพื่อสะท้อนให้เห็นบทบาทสำคัญในฐานะภาคเอกชนอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มในประเทศไทย ที่ร่วมผลักดันให้สวนปาล์มของไทยได้มาตรฐาน สามารถรักษาสิ่งแวดล้อม

“หลักสูตรเกษตรกรรายย่อยผลิตปาล์มน้ำมันของไทย” เครื่องมือพัฒนาเกษตรกรรายย่อยสู่ความยั่งยืน

เขียนโดย : ธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ องค์ความรู้ที่ถูกต้อง แม่นยำ และการนำไปปรับใช้ นับเป็นปัจจัยสำคัญในเรื่องการทำการเกษตร ปัจจุบันเกษตรกรยังประสบปัญหาต่างๆ เช่น ต้นทุนการผลิตสูง ผลผลิตต่ำ การปฏิบัติในสวนที่ไม่ถูกวิธี การขาดข้อมูลในการตัดสินใจ ซึ่งสาเหตุหลักๆ มาจากเรื่ององค์ความรู้ ประเทศไทยเองไม่ว่าจะเป็นทั้งภาครัฐและเอกชนพยายามส่งเสริมองค์ความรู้ให้กับเกษตรกรเพื่อปรับปรุงหรือยกระดับการผลิตให้สูงขึ้นเพื่อรองรับกับการตลาดที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง แต่องค์ความรู้ในปัจจุบันนั้น มีข้อมูลทางวิชาการที่ค่อนข้างกระจัดกระจาย มีการถ่ายทอดองค์ความรู้ที่ไม่เป็นระบบ ส่งผลให้ผู้ทำหน้าที่ส่งเสริมองค์ความรู้ไม่มีหลักสูตรหรือชุดความรู้ที่เป็นระบบในการนำไปใช้ ส่วนเกษตรกรก็ไม่ได้รับความรู้ที่ต่อเนื่องและมองไม่เห็นประโยชน์ที่แท้จริงในการนำองค์ความรู้ไปใช้ โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม เล็งเห็นว่าการมีองค์ความรู้ที่เป็นระบบจะช่วยสนับสนุนและส่งเสริมเกษตรกรรายย่อยผู้ผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเข้าสู่ระบบมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนหรือ RSPO ได้ ด้วยเหตุนี้ทางโครงการฯ จึงร่วมกับกรมวิชาการเกษตรและกรมส่งเสริมการเกษตร พัฒนาหลักสูตรสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนขึ้น โดยใช้ชื่อว่า “หลักสูตรการพัฒนาเกษตรกรรายย่อยผลิตปาล์มน้ำมันของไทย หรือเรียกสั้นๆ ว่า TOPSA (Thailand