Category: ข่าว

การเปลี่ยนแปลงของหุบเขาแห่งกาแฟ

เขียนโดย: ชลทิพย์ กลิ่นศรีสุข “ผาเปิดใจ” ชื่อนี้อาจจะยังไม่คุ้นชินกันมากนัก แต่ถ้าเป็นเรื่องของสถานที่กางเต้นท์ หรือกิจกรรมเดินวิ่งขึ้นผาเปิดใจ อาจจะมีชื่อเสียงในหมู่ของนักท่องเที่ยวธรรมชาติ… ผาเปิดใจ  ตั้งอยู่ที่หมู่ 20 ตำบลรับร่อ อำเภอท่าแซะ จังหวัดชุมพร ซึ่งไม่เพียงเป็นจุดชมวิวที่สวยงามของการชมพระอาทิตย์ขึ้นเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งปลูกกาแฟโรบัสต้าหนึ่งของจังหวัด ถ้าย้อนไปเมื่อประมาณ 10-20 ปีก่อน ผาเปิดใจ เป็นแหล่งที่มีการปลูกกาแฟสายพันธุ์โรบัสต้ากันมาก เนื่องจากสภาพอากาศ และภูมิประเทศที่เหมาะสม ทำให้กาแฟเจริญเติบโตได้ดี เมื่อถึงฤดูที่ดอกกาแฟบาน ทั้งหุบเขาที่รายล้อมไปด้วยสวนกาแฟ จะส่งกลิ่นหอมฟุ้งกระจายไปทั่วทั้งหุบเขาจนเกิดเป็นจุดท่องเที่ยวที่น่าสนใจ แต่เมื่อไม่กี่ปีที่ผ่านมาเกษตรกรหันมาให้ความสนใจกับพืชชนิดอื่นๆ ที่ให้ผลผลิตและราคาที่มากกว่าการปลูกกาแฟมากขึ้น  จากสภาพภูมิอากาศ เศรษฐกิจ ปัจจัยการผลิตและแรงงาน ส่งผลให้เกษตรกรลดความนิยมในการทำสวนกาแฟลง ไถทิ้งบ้างเพื่อปลูกพืชชนิดอื่นทดแทนที่เป็นที่นิยมขณะนั้น  เช่น

เปิดตัวโครงการใหม่ของอาเซียน ส่งเสริมมาตรฐานด้านความยั่งยืนให้กับสินค้าเกษตร

เขียนโดย:นาตาเชีย อังศกุลชัย, ที่ปรึกษาโครงการ ในประเทศอาเซียนส่วนใหญ่ การใช้มาตรฐานอาหารเพื่อควบคุมให้สินค้าเกษตรมีคุณภาพ มีความปลอดภัยและมีการผลิตอย่างยั่งยืน ในทางปฏิบัติจริง ยังคงมีข้อจำกัด และความท้าทาย เพื่อเสริมสร้างความแข็งแกร่งให้การผลิตทางการเกษตรและการค้าของอาเซียนมีความสอดคล้องกับมาตรฐานอาหารระดับภูมิภาคและระดับสากล โครงการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าในอาเซียน จึงเกิดขึ้น และมีพิธีเปิดอย่างเป็นทางการไปแล้วที่จาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย โครงการฯ ถูกดำเนินการขึ้นเพื่อสนับสนุนประเทศในอาเซียน โดยเฉพาะอย่างยิ่งประเทศกัมพูชา สปป.ลาว เมียนมาและเวียดนาม สามารถปรับปรุงกรอบเงื่อนไขสำหรับการดำเนินมาตรฐานด้านความยั่งยืนในสินค้าเกษตรในภูมิภาคอาเซียนให้ดียิ่งขึ้น เมื่อวันที่ 11 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563 เจ้าหน้าที่ 10 คนจาก 6 ประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ประเทศกัมพูชาอินโดนีเซีย สปป. ลาว มาเลเซีย

ความจริงอีกด้านของน้ำมันปาล์ม

เขียนโดย : กนกวรรณ ศาศวัตเตชะ ผู้อำนวยการโครงการ ผู้คนต่างคิดว่าปาล์มน้ำมันเป็นสาเหตุสำคัญของการตัดไม้ทำลายป่า ที่ส่งผลกระทบต่อทั้งสัตว์ป่า ประชากรในท้องถิ่น และทำให้ก๊าซเรือนกระจกเพิ่มมากขึ้น แต่คุณทราบหรือไม่ว่า น้ำมันปาล์มกับการเพาะปลูกที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมสามารถดำเนินไปพร้อมกันได้? สวนปาล์มน้ำมันในจังหวัดกระบี่ กนกวรรณ ศาศวัตเตชะ ผู้อำนวยการโครงการเพื่อการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (SCPOPP) กล่าวถึงวิธีการผลิตน้ำมันปาล์มโดยไม่ทำลายสิ่งแวดล้อมว่า “เรายอมรับว่าการได้มาซึ่งพื้นที่เพาะปลูกและทำสวนปาล์มเป็นอีกหนึ่งสาเหตุที่ส่งผลกระทบต่อทรัพยากรป่าไม้ แต่การทำสวนปาล์มน้ำมันนั้นไม่ได้ลุกล้ำพื้นที่ป่าทั้งหมด ดังนั้นเราจึงไม่ควรเหมารวมและต่อต้านน้ำมันปาล์ม” “การหันมาใช้น้ำมันปาล์มโดยที่ไม่รู้แหล่งที่มาจะส่งผลเสียมากกว่า เพราะเป็นการปิดกั้นรายได้ของเกษตรกรรายย่อยที่ไม่ได้บุกรุกป่า” เธอกล่าวเพิ่มเติมว่า ประเทศไทยมีระบบป้องกันและอนุรักษ์ป่าไม้ที่ดี ซึ่งพื้นที่ปลูกปาล์มส่วนใหญ่ตั้งอยู่บนแปลงเกษตรเดิมที่เคยปลูกยางพารา ผลไม้ หรือแปลงนาที่ถูกทิ้งร้าง ดังนั้นอัตราการบุกรุกพื้นที่ป่าเพื่อปลูกปาล์มในประเทศไทยจึงแทบจะเป็นศูนย์ กนกวรรณ ศาศวัตเตชะ ผู้อำนวยการโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (SCPOPP) น้ำมันปาล์มเป็นภัยต่อธรรมชาติ… จริงหรือไม่? ความต้องการน้ำมันปาล์มที่เพิ่มขึ้นอย่างมากในช่วงหลายสิบปีที่ผ่านมา

ชาวนาตำบลวัดดาวในชุดป้องกันสารเคมี (เครดิตรูปภาพ: GIZ Thailand)

ชาวนาสุพรรณบุรีกับการอยู่คู่สารเคมีอย่างมีความรับผิดชอบ

เขียนโดย: ปรางทอง จิตรเจริญกุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย มีคำถามอยู่ในใจของชาวนาไทยหลายคนว่า ‘พวกเขาปลูกข้าวที่ใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีน้อยลงและมีชีวิตที่ปลอดภัยขึ้นกว่านี้ได้หรือไม่’ ความเคยชินกับการใช้สิ่งเหล่านี้มานาน 20-30 ปี จนการลดปริมาณปุ๋ยเคมีและสารเคมีลงนั้น กลายเป็นการบั่นทอนจิตใจและความมั่นใจในการปลูกข้าวของชาวนาหลายคน ชาวนาตำบลวัดดาวในชุดป้องกันสารเคมี (เครดิตรูปภาพ: GIZ Thailand) การเดินทางลงพื้นที่ไปทำงานในตำบลวัดดาว อำเภอบางปลาม้า จังหวัดสุพรรณบุรี เมื่อวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2563 เพื่อถ่ายทำวิดีโอประชาสัมพันธ์โครงการข้าวริเริ่มที่ดีแห่งเอเชีย (เบรีย) – การจัดการศัตรูพืชแบบผสมผสาน หรือชื่อภาษาอังกฤษ​ Better Rice Initiative Asia –

Banana is one of six vegetables and fruits that have been selected as agriculture ambassadors for further exchange and discussion.

อาเซียนเดินหน้าดันการขนส่งสินค้าเกษตรให้เร็วยิ่งขึ้น

เขียนโดย: นาตาเชีย อังศกุลชัย ที่ปรึกษา โครงการอำนวยความสะดวกด้านการค้าสินค้าเกษตรในภูมิภาคอาเซียน ประเทศกัมพูชา ไทย และเวียดนาม เตรียมจัดทำแผนแนวทางพัฒนาศักยภาพด้านสุขอนามัยและสุขอนามัยพืชเพื่อส่งเสริมการขนส่งผักและผลไม้ให้รวดเร็วมากยิ่งขึ้นระหว่างสามประเทศและประเทศสมาชิกอาเซียนที่เหลือในอนาคต โดยแผนดังกล่าวต่อยอดจากความสำเร็จของโครงการอำนวยความสะดวกด้านการค้าสินค้าเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Facilitating Trade for Agricultural Goods in ASEAN: FTAG) ซึ่งได้สิ้นสุดลงไปเมื่อเดือนธันวาคมที่ผ่านมา ผู้เข้าร่วมการประชุมจากประเทศกัมพูชา ไทย เวียดนาม สปป. ลาว และเจ้าหน้าที่จากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทยถ่ายรูปร่วมกัน (เครดิตรูปภาพ: GIZ ประเทศไทย) “ผมหวังว่าโครงการจะเป็นโมเดลที่ดีให้กับหลายประเทศในอาเซียน และหวังว่าสิ่งที่ได้จากโครงการจะสามารถนำไปต่อยอดสำหรับโครงการอื่น ๆ ได้เช่นกัน นั้นคือสิ่งที่ผมอยากเห็น”

A farmer from Samrong district of Ubon Ratchathani province takes her daughter to the community hall, so they can receive the bonus together. (Photo credit: GIZ Thailand)

เกษตรกรอีสานยิ้มแก้มปริรับเงินโบนัสจากการปลูกข้าวตามมาตรฐานยั่งยืน

เขียนโดย: ปรางทอง จิตรเจริญกุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย หลังเรียนรู้เทคนิคการปลูกข้าวตามมาตรฐานยั่งยืนและปรับปริมาณการใส่ปุ๋ยให้เหมาะสมตามสภาพแปลงนาของตน เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหลายรายในจังหวัดอุบลราชธานีต่างพากันยิ้มแก้มปริรับเงินโบนัสจากการผลิตข้าวที่มีสิ่งเจือปนต่ำและเป็นไปตามมาตรฐานการผลิตข้าวยั่งยืนสากล พร้อมเป็นตัวอย่างแก่เกษตรกรคนอื่น ๆ ที่ยังลังเลใจไม่กล้าปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการผลิตข้าว สมาชิกเกษตรกรจากโครงการริเริ่มข้าวที่ดีขึ้นแห่งเอเชีย (Better Rice Initiative Asia: BRIA) หันมาผลิตข้าวตามมาตรฐานการผลิตข้าวที่ยั่งยืนแห่งแรกของโลก หรือ Sustainable Rice Platforms (SRPs) ตามคำแนะนำจากเจ้าหน้าที่ของโครงการ โดยในปีนี้ รวมแล้วมีเงินโบนัสสูงถึง 900,000 บาทได้ถูกแจกจ่ายออกไปให้แก่เกษตรกรมากกว่า 1,200 คนในหลายอำเภอของจังหวัดอุบลราชธานี ซึ่งถือเป็นรายได้เพิ่มเติมให้เกษตรกรมีกำลังใจผลิตข้าวที่ดีและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมต่อไป เกษตรกรจากอำเภอสำโรง จังหวัดอุบลราชธานี พร้อมลูกสาว