Category: ข่าว

เกษตรกรรายย่อยกับเมล็ดปาล์มน้ำมันที่เขาปลูกด้วยความภาคภูมิใจ (เครดิตรูปภาพ: GIZ Thailand)

น้ำมันปาล์มอยู่รอบตัวเรา แต่มันดีที่สุดแล้วหรือยัง?

เขียนโดย: ทีมเกษตรกรรมและอาหาร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย​ เมื่อพูดถึง ‘น้ำมันปาล์ม’ หลายคนอาจมองว่าเป็นเรื่องไกลตัว แต่จริง ๆ แล้ว น้ำมันปาล์มเป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ที่เราใช้ในชีวิตประจำวันหลายอย่าง โดยองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล (WWF) ได้ทำการสำรวจพบว่า กว่า 50% ของผลิตภัณฑ์ทั้งหมดที่วางจำหน่ายในซูเปอร์มาร์เก็ตนั้นล้วนทำมาจากน้ำมันปาล์มทั้งสิ้น ไม่ว่าจะเป็น .. ลิปสติก : น้ำมันปาล์มช่วยให้ลิปสติกคงสีสวย ไม่ละลายในอุณหภูมิสูง แล้วยังช่วยให้สีเรียบเนียนสวยงาม พิซซ่า : น้ำมันปาล์มช่วยให้พิซซ่าคงความสดและคงรูปร่างไม่ให้เปลี่ยนไป บะหมี่กึ่งสำเร็จรูป : น้ำมันปาล์มช่วยคงให้อาหารสำเร็จรูปอยู่ในสภาพที่พร้อมจะทำเป็นอาหารได้ดี เพียงแค่เติมน้ำร้อนก็พร้อมทานได้เลย ยาสระผม : น้ำมันปาล์มช่วยบำรุงและทำความสะอาดเส้นผมได้ดีเยี่ยม

Farmer Business School Chumphon

นักศึกษาวิทยาลัยเกษตรฯ ชุมพร สืบสานอาชีพทำสวนกาแฟโรบัสต้า​

เขียนโดย: ปรางทอง จิตรเจริญกุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย นักศึกษามากกว่า 100 คนจากวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยีชุมพรนำร่อง เข้าร่วมฝึกฝนการเป็นนักธุรกิจการเกษตรมืออาชีพ ผ่าน 3 ห้องเรียน เพื่อเก็บเกี่ยวทักษะ องค์ความรู้ และประสบการณ์จากเกษตรกรต้นแบบ เพื่อพลิกโฉมสวนกาแฟโรบัสต้าให้กลายเป็นธุรกิจ สร้างรายได้ให้ตนเองและครอบครัวได้อย่างยั่งยืน นายวิบูลย์ รัตนาภรณ์วงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดชุมพร เปิดเผยว่า “โครงการคอฟฟี่พลัส และโรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกรมีความสำคัญอย่างยิ่ง เนื่องจากกาแฟเป็นหนึ่งในพืชเศรษฐกิจสำคัญของไทย สร้างรายได้ให้กับเกษตรกรในภาคใต้ของไทยจำนวนไม่น้อย โดยเฉพาะอย่างยิ่งจังหวัดชุมพร ความต้องการของตลาดก็มีแนวโน้มเติบโตขึ้น แต่ผลผลิตกาแฟในประเทศกลับลดลงอย่างต่อเนื่อง ซึ่งเกิดจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นราคากาแฟตกต่ำ และราคาของพืชเศรษฐกิจตัวอื่น เช่น ทุเรียน สูงกว่ากาแฟ

เกษตรกรอีสานไม่หวั่น ใช้เมล็ดพันธุ์-ปุ๋ยน้อยลง ก็ปลูกข้าวคุณภาพดีได้

เกษตรกรอีสานไม่หวั่น ใช้เมล็ดพันธุ์-ปุ๋ยน้อยลง ก็ปลูกข้าวคุณภาพดีได้

เรื่องโดย: รินดา แก้วขอนแก่น เจ้าหน้าที่ภาคสนาม โครงการข้าวหอมมะลิยั่งยืน เป็นเวลาเกือบสิบปีที่นายวันชัย มาสระคู เกษตรกรอายุ 54 ปีจากอำเภอสุวรรณภูมิ จังหวัดร้อยเอ็ดดิ้นรนหาเงินลงทุนให้เพียงพอต่อการทำนาครั้งถัดไป ซึ่งต้นทุนการทำนาในแต่ละปีนั้นใช้เงินจำนวนมาก ทั้งค่าปุ๋ย ค่าเมล็ดพันธุ์ และอื่นๆ แต่เขาก็ตระหนักได้ว่า เขาไม่จำเป็นต้องทำอะไรเพิ่มเติม แค่เพียง ‘ต้องทำให้ถูกทาง’ นายวันชัยเล่าให้ฟังว่า ก่อนที่จะมาปรับพื้นที่นาด้วยระบบปรับระดับพื้นที่นาด้วยแสงเลเซอร์ เดิมทีแปลงนาไม่สม่ำเสมอกัน ทำให้ควบคุมน้ำได้ยาก พอเจ้าหน้าที่จากโครงการข้าวหอมมะลิยั่งยืนลงพื้นที่และเข้ามาสอบถามว่า มีใครต้องการจะปรับพื้นนาด้วยระบบแสงเลเซอร์หรือไม่ ตนจึงมีความสนใจเป็นอย่างมาก และอยากจะลองทำดู นายวันชัยเข้าร่วมโครงการในเดือนกรกฎาคม พ.ศ. 2561 และแปลงโฉมแปลงนาจำนวนพื้นที่ 13 ไร่ให้กลายเป็นแปลงสาธิตเพื่อทดลองใช้เทคโนโลยีการปลูกข้าวช่วยลดและต่อสู้กับภาวะโลกร้อน “ภรรยาผมตกใจมากตอนผมบอกเขาว่า ใช้เมล็ดพันธุ์แค่

palm oil plantations sustainable

เสียงจากเกษตรกรต้นแบบ: การปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนคือทางออกเดียวในการเข้าสู่ตลาดโลก

เขียนโดย: เณริญญา ชัปนพงศ์ เจ้าหน้าที่สื่อสารองค์กร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย หลังจากล้มลุกคลุกคลานมาหลายปี วันนี้ นายโสฬส เดชมณี เกษตรกรปาล์มน้ำมันอายุ 61ปีครอบครองพื้นที่ปลูกสวนปาล์มมากกว่า 44 ไร่ในจังหวัดสุราษฎร์ธานีและกลายเป็นเกษตรกรต้นแบบให้กับเพื่อนๆ เกษตรกรในบ้านเกิดของเขา นายโสฬสเคยประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ เช่น ไก่ เป็ด หมู และกุ้ง เขายอมรับว่า การทำสวนปาล์มไม่เคยมีอยู่ในความคิดเขาเลย “ทำฟาร์มสัตว์ได้เงินเร็วกว่า ผมเองก็ไม่ชอบทำสวน เพราะมันต้องรอคอย ต้องใช้เวลา” นายโสฬสกล่าว แต่สุดท้ายนายโสฬสก็ขาดทุนกับการประกอบอาชีพเลี้ยงสัตว์ จนเขาตัดสินใจหันหน้าเข้าสู่อุตสาหกรรมปาล์มน้ำมันเพราะเป็นที่นิยมของเพื่อนบ้าน แต่โสฬสไม่มีองค์ความรู้ในการจัดการสวนปาล์มน้ำมัน และไม่รู้ว่าจะต้องเริ่มต้นอย่างไร “ในพื้นที่ที่อยู่ คนอื่นเขาปลูกปาล์มกัน

4 เทคนิค “ทำนาลดโลกร้อน” ดีทั้งต่อเราและต่อโลก

4 เทคนิค “ทำนาลดโลกร้อน” ดีทั้งต่อเราและต่อโลก

เขียนโดย: ทีมเกษตรกรรมและอาหาร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย เพราะปัญหาภาวะโลกร้อนไม่ใช่เรื่องเล็ก ๆ อีกต่อไป วันนี้ การปล่อยก๊าซเรือนกระจกอย่างไม่มีการควบคุมส่งผลกระทบใหญ่หลวงต่อภาคเกษตรกรรม กระดูกสันหลังของชาติไทยอย่างชาวนากำลังตระหนักถึงปัญหานี้ และพร้อมปรับเปลี่ยนวิธีการทำนาเพื่อปรับตัวเข้ากับโลกยุคปัจจุบัน และช่วยลดปัญหาโลกร้อน ด้วยเงินสนับสนุนจากนา ฟาซิลิตี้ (NAMA Facility) ภายใต้ความร่วมมือของหน่วยงานภาครัฐหลายหน่วยงานและองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต และลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือไทย ไรซ์ นามา จึงเกิดขึ้นเพื่อดำเนินงานส่งเสริมเกษตรกรให้มีการทำนาแบบยั่งยืนในพื้นที่เขตชลประทานภาคกลาง ได้แก่  ชัยนาท สิงห์บุรี อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี ครอบคลุมพื้นที่กว่า 2.8

ติวเข้มนักวิจัยไทย วัดค่าการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว

เขียนโดย: พัชรินทร์ แซ่เฮง ผู้ช่วยโครงการ โครงการภาคเกษตรกรรมภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาวะโลกร้อนส่งผลกระทบต่อทุกภาคส่วนของประเทศไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งภาคการเกษตร ถึงเวลาแล้วที่รัฐบาลไทยต้องสนับสนุนการใช้เครื่องมือที่แม่นยำสำหรับวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว เพื่อส่งเสริมการผลิตข้าวที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และเราจะวัดปริมาณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการทำนาข้าวได้อย่างไร? การฝึกอบรมและให้ความรู้เรื่องการวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว ที่จัดขึ้นครั้งแรกโดยกรมการข้าว สถาบันวิจัยข้าวระหว่างประเทศ (IRRI) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) จะช่วยให้นักวิจัยจากศูนย์วิจัยข้าวและศูนย์เมล็ดพันธุ์ข้าวในจังหวัดชัยนาท อ่างทอง ปทุมธานี สิงบุรี พระนครศรีอยุธยา และสุพรรณบุรี สามารถวิเคราะห์และเก็บก๊าซเรือนกระจกจากนาข้าว ซึ่งข้อมูลที่ได้จากการคำนวณและวิเคราะห์ จะนำไปสู่การขับเคลื่อนการดำเนินงานด้านการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในอนาคต ซึ่งสอดคล้องกับการประชุมสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ณ กรุงปารีส เดือนธันวาคม ปีพ.ศ. 2559 ที่พลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีของไทยได้ให้คำมั่นว่าประเทศไทยจะลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ให้ได้อย่างน้อย