Category: ข่าว

เจ้าหน้าที่ชายแดนคุมเข้มนำเข้า-ส่งออกผักผลไม้ในอาเซียน ต้องสะอาด ปลอดแมลง

เขียนโดย: ปรางทอง จิตรเจริญกุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย โครงการอำนวยความสะดวกด้านการค้าสินค้าเกษตรในภูมิภาคอาเซียนของ GIZ จัดอบรมเชิงปฏิบัติการด้านสุขอนามัยพืชให้กับเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องจากประเทศไทย กัมพูชา และเวียดนาม จำนวน 15 คน ณ สถาบันเกษตราธิการ กรุงเทพฯ และจัดทัศนศึกษาเพื่อดูกระบวนการตรวจปล่อยสินค้าเกษตรนำเข้าและส่งออกตามมาตรการสุขอนามัยพืช ณ จุดผ่านแดนถาวรบ้านผักกาด จังหวัดจันทบุรีและจุดผ่านแดนฮัวลือ (Hoa Lu) จังหวัดบินเฟือก (Binh Phuoc) ประเทศเวียดนาม ระหว่างวันที่ 25 – 30 มีนาคม พ.ศ.2562 ที่ผ่านมา

ข้าวหอมมะลิ … กลิ่นละมุนของความสำเร็จจากเกษตรกรอุบลฯ

เขียนโดย: ปรางทอง จิตรเจริญกุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย กว่าทุ่งนาของ นางบุญเติม ล้วนดี เกษตรกรวัย 50 ปีจากอําเภอนาเยีย จังหวัดอุบลราชธานีจะเจริญงอกงามและสร้างรายได้ให้กับเธอนั้น นางบุญเติมต้องใช้เวลาลองผิดลองถูกอยู่นานพอสมควร เธอใช้ชีวิตปลูกข้าวมานานกว่า 20 ปี จนอาชีพทำนาได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิต แต่เมื่อคุณภาพของข้าวไม่ดี การขายข้าวจึงกลายเป็นเรื่องยาก และส่งผลกระทบต่อรายได้ของเธอและครอบครัว “ฉันไม่เคยได้กำไรจากการปลูกข้าว และไม่เคยปลดหนี้ได้เลย” นางบุญเติมเชื่อมาตลอดว่า การใช้ปุ๋ยในปริมาณมากจะทำให้ผลผลิตดี จนวันที่เธอได้เข้าร่วมอบรมกับโครงการริเริ่มข้าวที่ดีขึ้นแห่งเอเชีย (เบรีย) เธอได้เรียนรู้เทคนิคผลิตข้าวอย่างยั่งยืนตามมาตราฐานของ Sustainable Rice Platform หรือ SRP ซึ่งเป็นมาตรฐานความยั่งยืนสำหรับข้าวมาตรฐานแรกของโลก

เกษตรกรจาก ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ ยิ้มสดใส หลังต้นทุนปลูกข้าวลดลง

เขียนโดย: ปรางทอง จิตรเจริญกุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย นางลำเพียร ซุยคง อายุ 38 ปี จากบ้านตาหยวก จังหวัดร้อยเอ็ด หนึ่งในพื้นที่ ‘ทุ่งกุลาร้องไห้’ เป็นเกษตรกรในโครงการข้าวยั่งยืน ฉีกยิ้มกว้างหลังพบว่า ข้าวที่ตัวเองปลูกมีคุณภาพดีขึ้น และต้นทุนการผลิตข้าวลดลง “เราคิดว่าปุ๋ยที่เราใช้มาตั้งหลายปีดีอยู่แล้ว จนกระทั่งได้มาเข้าร่วมฝึกอบรมกับทางโครงการ ไม่กี่เดือนต่อจากนั้น เราเริ่มเรียนรู้วิธีควบคุมและกำจัดวัชพีช สังเกตแมลงที่มักมาอยู่ในแปลง เราเริ่มใช้ปุ๋ยอย่างเหมาะสม และปรับปรุงความอุดมสมบูรณ์ของดินได้ดีขึ้น” นางลำเพียงกล่าว ปีที่ผ่านมา นางลำเพียงปลูกข้าวได้ 700 กิโลกรัมต่อไร่ แต่หลังเปลี่ยนวิธีการปลูกข้าวและใส่ใจกระบวนการผลิตมากขึ้น ผลผลิตเพิ่มสูงขึ้นถึงร้อยละ 40

วงเสวนาชี้ ‘เกษตรกร’ คือ ‘แรงขับเคลื่อนสำคัญ’ ช่วยลดโลกร้อน

วงเสวนาชี้ ‘เกษตรกร’ คือ ‘แรงขับเคลื่อนสำคัญ’ ช่วยลดโลกร้อน

เขียนโดย: ปรางทอง จิตรเจริญกุล เจ้าหน้าที่ฝ่ายสื่อสารองค์กร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย เมื่อวันที่ 14 ธันวาคม พ.ศ. 2561 โครงการภาคเกษตรกรรม ภายใต้แผนงานความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ หรือ Thai German Climate Programme (TGCP) – Agriculture project ร่วมมือกับกรมการข้าวของประเทศไทย จัดงานเสวนากระตุ้นพี่น้องเกษตรกรไทยผลิตข้าวภายใต้ภาวะโลกร้อน ครั้งที่ 2 ณ โรงแรมเจริญธานี จังหวัดขอนแก่น นายเกรียงไกร จันทร์เพ็ง จากจังหวัดอุบลราชธานี อดีตนักธุรกิจ

เกษตรกรกับการปรับตัวเพื่อรับมือกับเปลี่ยนแปลงสภาพของภูมิอากาศ

เขียนโดย : Agriculture and Food Cluster Team การทำนาทำให้เกิดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก คิดเป็นร้อยละ 55 ของปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมาจากกิจกรรมในภาคเกษตรกรรมทั้งหมด ประเทศไทยจึงจำเป็นต้องมีการพัฒนาแผนงานที่เหมาะสมในการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกเพื่อเป็นแนวทางในการปรับตัวต่อสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลง พัฒนาระบบฐานข้อมูลสำหรับการตรวจวัดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก ตลอดจนสร้างแรงจูงใจให้กับเกษตรกรและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในห่วงโซ่การผลิตข้าว เพื่อขับเคลื่อนไปสู่การเพาะปลูกข้าวอย่างยั่งยืนที่เป็นมิตรกับสภาพแวดล้อม https://youtu.be/EFLaiCUsqIw โครงการความร่วมมือไทย – เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม (Thai-German Climate Programme (TGCP) – Agriculture)  ส่งเสริมการพัฒนานโยบายระดับประเทศและขับเคลื่อนการดำเนินงานในระดับจังหวัดและท้องถิ่นเพื่อการเพาะปลูกข้าวยั่งยืน มีการพัฒนาระบบตรวจวัด รายงานผล และทวนสอบ (Monitoring, Reporting, and Verification:

ตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เขียนโดย : Juejan Tangtermthong, Regional Advisor on Monitoring and Evaluation โครงการเบรีย: การริเริ่มข้าวที่ดีขึ้นแห่งเอเชีย (Better Rice Initiative Asia: BRIA) สานต่อความร่วมมือกับพันธมิตรรายใหม่ภายใต้ชื่อ “โครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (Market Oriented Smallholders Value Chain: MSVC) หรือโครงการเบรีย II (Better Rice Initiative Asia: BRIA II)” งานเปิดตัวโครงการภายใต้ชื่อใหม่นี้ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 28