Category: ข่าว

การออกแบบเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตร

เรื่องและภาพ: กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ ประเทศไทย เมื่อวันที่ 11 กรกฎาคม พ.ศ. 2566 GIZ ร่วมมือกับสำนักเลขาธิการอาเซียน จัดการประชุมเชิงปฏิบัติการระดับภูมิภาคสำหรับโครงการ “การพัฒนาเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศในภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน” (Agri-Climate Risk Financing) เพื่อยกระดับการเข้าถึงผลิตภัณฑ์และบริการทางการเงินให้กับเกษตรกรทั้งชายและหญิงให้มีศักยภาพในการปรับตัวและตอบสนองต่อความเสี่ยงด้านสภาพอากาศ พร้อมทั้งระบุถึงความต้องการเฉพาะของประเทศสมาชิกอาเซียน (ASEAN Member States) ที่จะนำไปสู่ความร่วมมือในการดำเนินโครงการ คุณเมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ ผู้จัดการโครงการการพัฒนาบริการทางการเงินเชิงนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศเกริ่นนำเกี่ยวกับโครงการและกล่าวนำเข้าสู่การประชุมในหัวข้อแรก “เหลียวหลัง แลหน้า” เพื่อสร้างความร่วมมือระหว่าง GIZ และชาติสมาชิกอาเซียน ในการทำงานร่วมกันภายใต้โครงการ การประชุมในครั้งนี้มีตัวแทนจากคณะทำงานด้านพืชของอาเซียน (ASEAN Sectoral Working

โครงการ E-WMSA: การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศไทยต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำยม-น่าน

เรื่องและภาพ: เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ ประเทศไทย ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงและเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอีก 30 ปี นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะประสบวิกฤติภัยแล้งและอุทกภัยรุนแรงบ่อยครั้งขึ้น จนอาจส่งผลเสียต่อภาคเกษตรกรรม ดังนั้น ในแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2561 จึงได้กำหนดให้การบริหารจัดการน้าภายใต้ภาวะวิกฤตภัยแล้งและอุทกภัยเป็นเรื่องเร่งด่วนระดับชาติ เพื่อสนับสนุนการจัดการน้ำและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยด้วย ด้วยเหตุนี้กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund : GCF) จึงจัดตั้งโครงการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing Climate Resilience in Thailand through Effective Water Management

การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยโมเดล BCG

เรื่องและภาพ: ธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ ประเทศไทย การทำการเกษตรในปัจจุบันนอกจากจะให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการผลิตแล้ว ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิตก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ปัจจุบันหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ดังจะเห็นได้จากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ประเทศไทยเองนั้นก็มีแนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวผ่านทางโมเดล BCG (Bio-Circular-Green Economy Model) ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ประกอบไปด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (B: Bio Economy) การนำทรัพยากรที่มีมาสร้างมูลค่า โดยใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม เศรษฐกิจหมุนเวียน (C: Circular Economy)

โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมัน ด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (TGC-EMC): ความมุ่งมั่นร่วมกันสู่เป้าหมายการใช้พลังงานทดแทนจากภาคเกษตรของประเทศไทย

เรื่องและภาพ: เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ ประเทศไทยมุ่งมั่นที่จะลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง 30% ภายในปี 2030 ทั้งนี้การผลิตไฟฟ้าในประเทศไทยยังคงพึ่งพาเชื้อเพลิงฟอสซิลเป็นหลัก ในขณะที่ส่วนแบ่งจากการผลิตจากพลังงานหมุนเวียนยังต่ำกว่าศักยภาพที่ควรจะเป็น ดังนั้นเพื่อสนับสนุนการเปลี่ยนผ่านสู่พลังงานยั่งยืนของประเทศไทย จึงได้มีการจัดตั้งโครงการความร่วมมือไทย–เยอรมันด้านพลังงาน คมนาคม และการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ Thai-German Cooperation on Energy, Mobility, and Climate (TGC-EMC) คุณ พีรพันธ์ คอทอง รองปลัดกระทรวงเกษตรและสหกรณ์กล่าวเปิดงาน โครงการ TGC-EMC เป็นความร่วมมือระหว่างไทยและเยอรมนีเพื่อเร่งการเปลี่ยนแปลงด้านพลังงานของประเทศไทยไปสู่การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ยั่งยืน ซึ่งโครงการฯ ประกอบด้วยห้าภาคส่วน ได้แก่ ภาคส่วนพลังงานชีวมวล (Biomass) ภาคส่วนพลังงานหมุนเวียน (Renewable

วิทยากร SPOPP ต้นแบบที่ให้มากกว่าการสอนและการแบ่งปันความรู้

เรื่องและภาพ จันทิมา กูลกิจ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร ถนอมขวัญ จันทร์พิบูลย์ วิทยากร โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน บริษัท ปาล์มพันล้าน จำกัด วิทยากรมักถูกมองว่าเป็นเพียงผู้บรรยาย แต่สำหรับโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน หรือ SPOPP แล้ว วิทยากรของเรานั้นยังเป็นทั้งผู้สอน ผู้นำกระบวนการฝึกอบรม และเป็นผู้ตรวจสอบที่คอยติดตามว่าเกษตรกรได้นำความรู้และเทคนิคที่ได้จากการอบรมไปใช้หรือไม่ วิทยากรของโครงการ SPOPP หลายคนยังคงสนุกกับสิ่งที่ทำและพัฒนาการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องต่างๆ แล้ว วิทยากรยังเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันไปสู่เป้าหมายในการได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน หรือ RSPO กิจกรรมที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของวิทยากรโครงการ SPOPP ได้อย่างชัดเจน ถ้าขาดคนใดคนหนึ่งไป หรือหากใครขาดคุณสมบัติไปข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานอย่างแน่นอน นอกจากนั้น ความท้าทายสำคัญที่วิทยากรต้องเผชิญในการพัฒนาทักษะก็คือการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงที่อาจแตกต่างไปจากสิ่งที่ได้รู้ในห้องเรียน

บางจากชู “ข้าวลดโลกร้อน”จากโครงการไทยไรซ์นา ให้เป็นสินค้าที่ระลึกวันสิ่งแวดล้อมโลก

Photos: Kiattiyote Wongudomlert, Agriculture and Food Cluster/ GIZ Thailand ผู้แทนเกษตรกรจากวิสาหกิจชุมชนแปลงใหญ่เกษตรสมัยใหม่ตำบลเดิมบาง จังหวัดสุพรรณบุรี ส่งมอบ “ข้าวลดโลกร้อน” จำนวน 40 ตัน ให้กับนายสมชัย เตชะวณิช ประธานเจ้าหน้าที่การตลาด กลุ่มธุรกิจการตลาด บริษัท บางจาก คอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) ที่ บางจากฯ รับซื้อจากวิสาหกิจชุมชน ผ่านบริษัท ออมสุขวิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด เพื่อนำมาเป็นสินค้าสมนาคุณแก่ลูกค้าสถานีบริการบางจากที่ร่วมรายการ ในกรุงเทพฯ และปริมณฑล ตลอดเดือนมิถุนายน