Category: ข่าว

เพิ่มผลผลิตและรายได้จากการจัดการสวนมะพร้าวด้วยวิถีเกษตรอินทรีย์ยั่งยืน

เรื่อง อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล และ เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ เป็นเวลาประมาณสองปีแล้วที่ชนัญญา เชวงโชติ วางมือจากอาชีพเชฟอาหารในต่างแดน และเดินทางกลับบ้าน เพื่อมาดูแลบิดาอายุ 85 ปี และสวนมะพร้าวขนาด 35 ไร่ที่อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี    คุณชนัญญา หรือกุ้ง ชื่อเล่นที่คนในครอบครัวเรียกคือสมาชิกรุ่นทีสองของสวนลุงชะเอม เธอเติบโตที่สวนมะพร้าวของพ่อ ถึงแม้จะไปใช้ชีวิตอยู่ต่างประเทศเกือบ 10 ปี คุณกุ้งก็มีความตั้งใจที่จะกลับมาช่วยครอบครัวดูแลกิจการ “สวนลุงชะเอม“ สวนมะพร้าวที่กำลังเผชิญกับความท้าทายจากความเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และปัจจัยแวดล้อมในทุก ๆ ด้าน ทั้งน้ำเค็มรุกล้ำสวน สภาพดินเสื่อมโทรม

เปิดตัวโครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัส (Coffee++) ในประเทศไทย

เรื่อง: วัลนิภา โสดา ผู้จัดการโครงการคอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัส (ฝ่ายความร่วมมือพันธมิตรและความยั่งยืน) การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีความรุนแรงจนส่งผลกระทบอย่างมากต่อสิ่งแวดล้อม โดยระบบนิเวศที่เสื่อมโทรมยังทำให้ผลผลิตกาแฟและรายได้ของเกษตรกรลดลง เพื่อช่วยเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อยรับมือกับปัญหาที่เกิดขึ้น องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้โครงการ “ความยั่งยืนและการเพิ่มมูลค่าเพิ่มในห่วงโซ่อุปทานการเกษตร” ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือพันธมิตรระดับโลก ในการกำกับดูแลของกระทรวงเพื่อความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธรัฐเยอรมนี (BMZ) ได้ร่วมกับพันธมิตรภาคเอกชน คือ บริษัท เนสท์เล่ ในการพัฒนาโครงการฯ โดยใช้หลักพหุวิทยาการ ทั้งแนวทางการปรับตัวเพื่อรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ รวมถึงความร่วมมือเชิงกลยุทธ์กับพันธมิตรทั้งภาครัฐและเอกชน ซึ่งพันธมิตรทั้งหมดเล็งเห็นถึงศักยภาพของโครงการฯ ในการช่วยพัฒนาระบบนิเวศแวดล้อมและยกระดับความเป็นอยู่ของเกษตรกรให้ดีขึ้น ด้วยความพยายามที่จะสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อยให้สามารถรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศที่รุนแรงมากขึ้น ในปี พ.ศ. 2565 องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมันและบริษัท เนสท์เล่ ได้ตกลงที่จะดำเนินโครงการ “ยกระดับคุณภาพชีวิตและความพร้อมในการรับมือการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของผู้ผลิตกาแฟรายย่อยด้วยระบบการผลิตแบบเกษตรกรรมฟื้นฟู” หรือ “คอฟฟี่ดับเบิ้ลพลัส

ธ.ก.ส. และ GIZ ร่วมศึกษาดูงานประเทศเยอรมนีเพื่อส่งเสริมความร่วมมือในการพัฒนากลไกการเงินสีเขียวและนวัตกรรมการเงินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน

เรื่องและภาพ นรวิชญ์ สุวรรณกาญจน์, กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร คณะผู้บริหารระดับสูงของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เดินทางศึกษาดูงานด้านการพัฒนากลไกการเงินสีเขียวและนวัตกรรมการเงินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืน ณ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี ระหว่างวันที่ 22 – 26 พฤษภาคม พ.ศ. 2566 โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเรียนรู้นวัตกรรมและเทคโนโลยีการเกษตรและการพัฒนาประสิทธิภาพการผลิตอย่างยั่งยืน รวมทั้งเปิดโอกาสผู้บริหารของธ.ก.ส.ได้แลกเปลี่ยนประสบการณ์กับผู้เชี่ยวชาญจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน สมาคมการเกษตร รวมถึงสถาบันการศึกษาและวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนากลไกหรือเครื่องมือทางการเงิน และรูปแบบธุรกิจการเกษตรที่ส่งเสริมความยั่งยืนทั้งด้านสังคมและสิ่งแวดล้อมของเยอรมัน โดยเฉพาะประเด็นสำคัญคือการรองรับความเสี่ยงและผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การศึกษาดูงานในครั้งนี้ว่าเป็นการส่งเสริมให้คณะศึกษาดูงานได้เรียนรู้แนวทางการพัฒนารูปแบบการเงินสีเขียว การสร้างนวัตกรรมการเงินเพื่อการเกษตรที่ยั่งยืนและเท่าทันต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศซึ่งสอดคล้องการนโยบายการพัฒนาเศรษฐกิจชีวภาพ เศรษฐกิจหมุนเวียน และเศรษฐกิจสีเขียว (Bio-Circular-Green Economy) ของประเทศไทย รวมถึงการดำเนินงานด้านสิ่งแวดล้อม สังคม  และบรรษัทภิบาล (Environmental,

กรมชลประทาน-GIZ เปิดตัวโครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย

เรื่องและภาพ กรมชลประทาน เมื่อเร็ว ๆ นี้ ดร.ทวีศักดิ์ ธนเดโชพล รองอธิบดีกรมชลประทาน เป็นประธานการประชุมเชิงปฏิบัติการระยะเริ่มต้น (Inception workshop) โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทย ด้วยการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing Climate Resilience in Thailand through Effective Water Management and Sustainable Agriculture) โดยมีผู้แทนสำนักงานชลประทานระดับภาค ผู้แทนจากสำนักงานโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme: UNDP) องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศเยอรมัน (GIZ) และผู้แทนจากหน่วยงานภายใต้กระทรวงเกษตรและสหกรณ์

GIZ เปิดตัวโครงการการพัฒนาบริการทางการเงินเชิงนวัตกรรมเพื่อส่งเสริมภาคเกษตรไทยรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศ

เรื่องและภาพโดย: กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) องค์การความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เปิดตัวโครงการมูลค่า สี่ล้านยูโร หรือราว 150ล้านบาท เพื่อพัฒนาศักยภาพเกษตรกรรายย่อยของไทยและภูมิภาคอาเซียนให้สามารถเข้าถึงเครื่องมือทางการเงินที่จำเป็นเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และเสริมสร้างความเท่าเทียมทางเพศในภาคเกษตร โครงการการพัฒนาบริการทางการเงินเชิงนวัตกรรมเพื่อรับมือกับความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศสำหรับภาคการเกษตรในภูมิภาคอาเซียน (Innovative Climate Risk Financing for the Agricultural Sector in the ASEAN Region:Agri-Climate Risk Financing) ได้รับการสนับสนุนจากกระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธรัฐเยอรมัน (BMZ) โดยมีองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) เป็นผู้ดำเนินโครงการทั้งในระดับภูมิภาคผ่านแผนกอาหาร เกษตรและป่าไม้ ของสำนักงานเลขาธิการอาเซียน (The

ไทยประกาศความสำเร็จความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน พร้อมเดินหน้าใช้ใบรับรองสุขอนามัยพืช อิเล็กทรอนิกส์ (ePhyto) เพื่ออำนวยความสะดวกการส่งออกเต็มรูปแบบ

เรื่องและภาพประกอบ:โครงการ ePhyto ประเทศไทย กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ กรมวิชาการเกษตร สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ และกรมศุลกากร เห็นชอบร่วมกันส่งเสริมการใช้ ePhyto หรือใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ เพื่ออำนวยความสะดวกทางการค้าและการส่งออกของไทยผ่านเทคโนโลยีดิจิทัล การใช้ ePhyto สะท้อนให้เห็นถึงความพยายามของภาครัฐที่จะแก้ปัญหาระบบเอกสารและช่วยลดขั้นตอนการดำเนินงานด้านการส่งออกให้กระชับรวดเร็วยิ่งขึ้น ประเทศไทยออกใบรับรองสุขอนามัยพืช ให้กับผู้ส่งออกสินค้าประเภทพืชและผลิตภัณฑ์พืช สู่ตลาดอาเซียนและตลาดโลก รวมทั้งหมด 392,532 ฉบับต่อปี (ค่าเฉลี่ยช่วงปี 2563-2565) ซึ่งการใช้ ePhyto จะสามารถลดค่าใช้จ่ายจากในการเดินทางของผู้ประกอบการ และการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ได้กว่า 166 ล้านบาทต่อปี หรือ 4.89 ล้านเหรียญดอลล่าร์ ประเทศไทยประกาศความสำเร็จความร่วมมือภาครัฐ-เอกชน ส่งเสริมการใช้ใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic