Category: ข่าว

เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย พร้อมคณะเยือนโครงการ SPOPP กระบี่

เรื่องและภาพ: จันทิมา กูลกิจ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ นายเกออร์ก ชมิดท์ เอกอัครราชทูตเยอรมันประจำประเทศไทย พร้อมคณะได้ไปเยือนโรงงานสกัดน้ำมันปาล์มบริษัท ปาล์มพันล้าน จำกัด และพบปะเกษตรกรสมาชิกกลุ่มวิสาหกิจชุมชนสานฝันเพหลาพัฒนาเศรษฐกิจ อำเภอคลองท่อม จังหวัดกระบี่ ภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน (Sustainable Palm Oil Production and Procurement หรือ SPOPP) การเดินทางเยือนโครงการ SPOPP ครั้งนี้มีผู้บริหารบริษัท ปาล์มพันล้าน จำกัด คณะผู้บริหารบริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) ให้การต้อนรับและนำเยี่ยมชมกระบวนการผลิตน้ำมันปาล์ม นายเฉลิมพล จิระธำรง

ไทย ไรซ์ นามา เปิดบ้านต้อนรับแขกวีไอพีเยอรมัน-ไทย

เรื่องและภาพ: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ ประเทศไทย โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ไทย ไรซ์ นามา มีโอกาสต้อนรับแขกผู้มีเกียรติทั้งจากเยอรมนี และประเทศไทย เข้าเยี่ยมชมและศึกษาดูงาน แปลงนาสาธิตข้าวรักโลกของสมาชิกโครงการ ดร.โทบิอัส ลินด์เนอร์ มอบหนังสือ 160 ปี ความสัมพันธ์ทางการทูตเยอรมัน-ไทย ให้กับคุณธีรยุทธ์ จันทร์ดิษฐวงษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดสุพรรณบุรี เป็นที่ระลึก ท่านแรกดร. โทบิอัส ลินด์เนอร์ (Tobias Lindner) รัฐมนตรีช่วยประจำสำนักรัฐมนตรีกระทรวงการต่างประเทศ สหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี พร้อมด้วย นายเกออร์ก ชมิดท์ (Georg

GIZ จับมือ อูรมัต เดินหน้าข้อตกลงความร่วมมือการใช้ประโยชน์ฟางข้าวเพื่อเกษตรกรรายย่อยเชียงราย

องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมกับ บริษัท อูรมัต จํากัด ซึ่งเป็นกิจการเพื่อสังคม ประกอบธุรกิจเกี่ยวกับข้าวที่ได้รับรองมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ และผลิตภัณฑ์แปรรูปจากข้าว จับมือร่วมกันดำเนินโครงการการใช้ประโยชน์ฟางข้าวจากเกษตรกรรายย่อยในจังหวัดเชียงราย ประเทศไทย เพื่อลดปัญหาการเผาฟางข้าว การขาดทางเลือกในการจัดการฟางข้าวที่เหมาะสมนั้นทำให้ฟางข้าวและตอซังมักถูกเผาโดยเกษตรกรเพื่อเตรียมพื้นที่ แม้ว่าการเผาจะก่อให้เกิดมลพิษทางอากาศและส่งผลกระทบต่อสุขภาพก็ตาม นายไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อำนวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจำประเทศไทย และมาเลเซีย นางพจมาน วงษ์สง่า หัวหน้าโครงการส่วนภูมิภาค GIZ และนายอารวิน นารูลา ประธานบริษัท อูรมัต จำกัด ได้ร่วมลงนามข้อตกลงความร่วมมืออย่างเป็นทางการในโครงการความร่วมมือระหว่าง บริษัท อูรมัต จำกัด และ GIZ

แบ่งปัน แลกเปลี่ยน เรียนรู้: แนวทางสร้างศักยภาพกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้า

เรื่องและภาพ ชลทิพย์ กลิ่นศรีสุข และวีรินทร์ภัทร์ เจนวัฒนากูล การรวมกลุ่มของเกษตรกรนับเป็นหนึ่งในวิธีการสร้างความเข้มแข็งและเสริมสร้างความยั่งยืนด้านการเกษตรของทั้งตัวเกษตรกรและชุมชน  กลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟชุมชนห้วยนายร้อย  อำเภอละอุ่น จังหวัดระนอง คือหนึ่งในตัวอย่างสำคัญของโครงการพัฒนาระบบการผลิตกาแฟของผู้ประกอบการรายย่อย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือคอฟฟีพลัส แม้ว่าจะเป็นการรวมกลุ่มแบบไม่เป็นทางการแต่สมาชิกทั้งหมดล้วนมีความมุ่งมั่นและตั้งใจ  พัฒนาศักยภาพและความเข้มแข็งของตนเองและกลุ่มในการจัดการปลูกกาแฟโรบัสต้า ด้วยเหตุนี้ โครงการคอฟฟีพลัสจึงได้เริ่มจัดอบรมหลักสูตร “โรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร (Farmer Business School)” เมื่อปี พ.ศ. 2562 เพื่อให้เกษตรกรผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้ารู้จักการวางแผนการเพาะปลูก มีการจดบันทึกรายจ่าย-รายรับ เพื่อให้ทราบต้นทุน กำไร เรียนรู้การกระจายความเสี่ยงโดยการปลูกพืชที่หลากหลาย  พร้อมเทคนิคเพิ่มผลผลิตทางการเกษตรและลดต้นทุนการผลิต เกษตรกรสมาชิกกลุ่มผู้ปลูกกาแฟชุมชนห้วยนายร้อยจำนวน 17 คน ศึกษาดูงานที่ศูนย์จัดการดินปุ๋ยชุมชนหมู่ 3 ตำบล

ความร่วมมือและนวัตกรรมสู่การเกษตรทยั่งยืนในอาเซียน

เขียนโดย นาตาเชีย อังศกุลชัย และไอดีลา ฟรีตา โครงการ ASEAN AgriTrade รูปภายโดย: GIZ/Proramatephoto ผู้เข้าร่วมงานจากประเทศกัมพูชา สปป. ลาว เมียนมา เวียดนาม และ GIZ ณ งานแลกเปลี่ยนเรียนรู้และส่งเสริมเครือข่ายของ Agrinnovation Fund in ASEAN วันที่ 13 – 14 ธันวาคม 2565 13 – 14 ธันวาคม 2565 ณ

ไทยประกาศความสำเร็จโครงการข้าวลดโลกร้อน เพิ่มศักยภาพภาคเกษตร ลดผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ

Story and Photos: Thai-German Climate Programme – Agriculture โครงการความร่วมมือไทย-เยอรมันด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม (Thai-German Climate Programme – Agriculture) ประกาศความสำเร็จสร้างการมีส่วนร่วมเพื่อส่งเสริมวิถีการปลูกข้าวลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในประเทศไทยให้เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาระบบการตรวจวัด รายงานและทวนสอบ (Monitoring, Reporting and Verification: MRV) สำหรับภาคส่วนข้าว นับเป็นความก้าวหน้าของภาคเกษตรไทยในการนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมมาประยุกต์ใช้ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของเกษตรกรและเจ้าหน้าที่ภาครัฐในระดับปฏิบัติการและฝ่ายวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสามารถนำความรู้ไปสู่การปฏิบัติเพื่อลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศจากการปลูกข้าว ข้าวมีบทบาทสำคัญกับการพัฒนาประเทศเพราะเป็นผลผลิตส่งออกหลักของภาคเกษตรไทย และยังเป็นอาหารหลักหล่อเลี้ยงประชากรไทยจากรุ่นสู่รุ่น อย่างไรก็ตาม รายงานความก้าวหน้ารายสองปี ฉบับที่ 2 (The 2nd