Category: ข่าว

5 มุมมองเกษตรกรหญิงสะท้อนความสำเร็จ ในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน

เรื่อง: โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปัจจุบันบทบาทผู้หญิงเป็นที่พูดถึงเพิ่มมากขึ้น ในโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม หรือ โครงการ SCPOPP ก็เป็นหนึ่งในโครงการฯ ที่มีเกษตรกรผู้หญิงเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นการอาสาเข้ามาเป็นวิทยากรในการฝึกอบรม การเข้ามามีบทบาทเป็นคณะกรรมการบริหารจัดการกลุ่ม หรือแม้แต่การเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนวคิดเพื่อพัฒนากิจกรรมของโครงการฯ ให้ดีขึ้น จากการลงพื้นที่ดำเนินกิจกรรมและพูดคุยกับกลุ่มเกษตรกรหลายๆกลุ่ม ทางโครงการฯ มักจะเห็นเกษตรกรผู้หญิงเข้ามาร่วมกิจกรรมถึงร้อยละ 40 ซี่งเป็นสัดส่วนที่ค่อนข้างมากสำหรับเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมัน และเกษตรกรก็มีส่วนร่วมกับกิจกรรมเป็นอย่างดี ด้วยเหตุนี้จึงเป็นการจุดประกายให้กับทางโครงการฯว่า อะไรเป็นแนวคิดหลักที่เกษตรกรหญิงอย่างพวกเขาได้เข้ามามีบทบาทในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน กล้าหาญ ความไม่ยอมแพ้ในแบบชาวสวนภาคใต้ที่ต้องพร้อมรับมือกับความเปลี่ยนแปลงในทุก ๆ วัน คุณเรณู ภู่สุวรรณ เกษตรกรส่วนใหญ่ได้รับการสืบทอดการจัดการสวนปาล์มจากรุ่นสู่รุ่น และเกษตรกรส่วนใหญ่ก็มีอายุค่อนข้างมาก มีแนวทางการปฏิบัติและดูแลสวนกันตามที่เคยทำกันมา แต่ในปัจจุบันกระแสการผลิตปาล์มน้ำมันที่ยั่งยืนได้เพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้เกษตรกรจำเป็นต้องปรับตัวให้สามารถเข้าสู่ระบบและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของตลาดได้. “เราพอทราบว่าการทำสวนปาล์มแบบที่เคยทำมาก็พอเลี้ยงชีพอยู่ได้ แม้การทำแบบยั่งยืนมันต้องปรับเปลี่ยนเยอะโดยเฉพาะอย่างยิ่งความใส่ใจที่เพิ่มมากขึ้นและทำคนเดียวไม่ได้ เราต้องมีกลุ่มเกษตรกรรายย่อยอยู่ด้วยกัน

ความยั่งยืนเกิดขึ้นได้เมื่อพันธมิตรภาคียอมรับ

เขียนโดย: วัลนิภา โสดา, ผู้จัดการฝ่ายประสานงานภาครัฐและผลผลิตกาแฟ, โครงการคอฟฟีพลัส ประเทศไทย องค์ความรู้ เครื่องมือและวิธีการทำงาน ที่ถูกพัฒนาขึ้นโดยโครงการคอฟฟีพลัสมีความยั่งยืนได้ด้วยการทำให้พันธมิตรภาคีและเกษตรกร จากหน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนสามารถทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุเป้าหมายเดียวกัน โครงการพัฒนาระบบการผลิตกาแฟของผู้ประกอบการรายย่อยในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (โครงการคอฟฟีพลัส) เป็นโครงการร่วมมือระหว่างภาครัฐและเอกชนในระดับภูมิภาค ที่ดำเนินการภายใต้ความร่วมมือระหว่าง จีไอแซด(GIZ) และบริษัท เนสเล่ ซึ่งดำเนินโครงการใน 3 ประเทศ คือ อินโนนีเซีย ฟิลิปปินส์ และประเทศไทย โครงการมีวัตถุประสงค์เพื่อปรับปรุงฐานะทางเศรษฐกิจของเกษตรกรผู้ปลูกกาแฟรายย่อย จำนวน 10,500 ราย ใน 3 ประเทศ แบ่งเป็น 7,000 รายในประเทศอินโดนีเซีย 1,500

ไทย-เยอรมันร่วมหารือแนวทางพัฒนากลไกทางการเงินเพื่อส่งเสริมการทำนาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก-ความยั่งยืนภาคเกษตรไทย

เรื่อง: เมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ ผู้จัดการโครงการนวัตกรรมเครื่องมือทางการเงินเพื่อการปรับตัวต่อความเสี่ยงด้านสภาพภูมิอากาศ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร ผู้เชี่ยวชาญทางการเงินจากธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์ (ธกส.) และบรรษัทค้ำประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม (บยส.) พร้อมทั้งผู้แทนและที่ปรึกษาด้านการเงินจากองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมกันระดมสมองเพื่อหาแนวทางและกลไกการเงินที่ยั่งยืนเพื่อตอบโจทย์ความต้องการของเกษตรกรรายย่อยไทยในการทำนาลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจก และเพิ่มศักยภาพชาวนาไทยในการฟื้นตัวจากผลกระทบของการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อนำเสนอรายละเอียดความคืบหน้าของการพัฒนาและออกแบบโครงการ “การเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ” หรือ “Thai Rice GCF” ซึ่งกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการจัดทำข้อเสนอโครงการโดย GIZ  คณะทำงานเพื่อผลักดันข้อเสนอโครงการ Thai Rice GCF จัดประชุมการประชุมเชิงปฎิบัติการทั้งหมดสามครั้ง เพื่อรับฟังข้อเสนอแนะและแนวทางการทำงานจากผู้เชี่ยวชาญภาคเกษตรไทยจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ สำนักงานนโยบายและแผนทรัพยากรธรรมชาตและสิ่งแวดล้อม (สผ.) กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม และภาควิชาการ เพื่อระดมสมองและรวบรวมแนวคิดจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องอย่างสร้างสร้างสรรค์ เป็นขั้นตอนสำคัญสำหรับคณะทำงานเพื่อวางกรอบแนวคิดและแผนการทำงานโครงการที่เกษตรกรรายย่อยและหน่วยงานทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้องสามารถนำไปปฏิบัติใช้ได้จริงและเป็นประโยชน์กับภาคเกษตรไทยให้ได้มากที่สุด สำหรับรายละเอียดเกี่ยวกับข้อเสนอของโครงการ

อาเซียนผนึกกำลังในการมุ่งสู่ระบบเกษตรและอาหารที่ปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ และคาร์บอนสุทธิเป็นศูนย์

เรื่อง เครือข่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน ภาพ: GIZ/Anggara Mahendra ผู้แทนระดับชาติในฐานะผู้แทนหลักของเครือข่ายเพื่อเสริมสร้างศักยภาพในการปรับตัวรองรับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศของอาเซียน (ASEAN Climate Resilience Network: ASEAN-CRN) และพันธมิตร จำนวนราว 30 คน เข้าร่วมการประชุมในหัวข้อ  “การเปลี่ยนผ่านสู่ระบบเกษตรและอาหารที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำ: กิจกรรมแลกเปลี่ยนความรู้และการฝึกอบรมการเจรจานโยบายสภาพภูมิอากาศ” ระหว่าง27-29 กันยายน 2565 ที่บาหลี ประเทศอินโดนีเซีย เพื่อเรียนรู้เกี่ยวกับแนวคิดเรื่องการปล่อยคาร์บอนต่ำและสุทธิเป็นศูนย์ในภาคการเกษตร และเสริมสร้างทักษะพื้นฐานที่จำเป็นเพื่อนำวาระความร่วมมือด้านเกษตรโคโรนีเวีย (KJWA) มาร่วมเจรจาในการประชุมสมัชชาประเทศภาคีกรอบอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ สมัยที่ 27 (Conference of the Parties: COP27) รวมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างหน่วยงานในเครือข่าย

สืบสานการปลูกกาแฟโรบัสต้า – มรดกแห่งขุนเขา

เรื่อง: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ: โครงการคอฟฟีพลัส ประเทศไทย สุดา บุญสิทธิ์ คือเกษตรกรรายย่อยผู้ปลูกกาแฟโรบัสต้ารุ่นที่สอง ครอบครัวของสุดาย้ายถิ่นฐานจากนครราชสีมา ประตูสู่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย ลงมาตั้งหลักปักฐานที่อำเภอละอุ่น จังหวัดระนองเมืองที่ได้ขึ้นชื่อว่า “ฝนแปด แดดสี่” ตั้งแต่ปีพ.ศ. 2528 ตามนโยบายส่งเสริมอาชีพเกษตรกรรรมในพื้นที่จังหวัดภาคใต้ของภาครัฐในยุคสมัยนั้น แม้ว่าสุดาจะมีอายุเพียง 8 ปี แต่เธอจำได้ดีว่า คุณแม่ของเธอเริ่มต้นทุกอย่างจากศูนย์ ลงมือปลูกพืชผลต่าง ๆ ในพื้นที่ มีทั้งยางพารา ผลไม้เมืองร้อนและที่สำคัญคือ “กาแฟโรบัสต้า”  35 ปีที่คุณแม่ของสุดาตั้งใจทำอาชีพเกษตรกรรมอย่างสุจริต ทุ่มเทหยาดเหงื่อ แรงกายและทุนทรัพย์ ทำให้ทุกวันนี้ครอบครัวของสุดามีกินมีใช้ไม่ลำบากเดือดร้อน สุดาเล่าว่า

GIZ ผนึกกำลังผู้เชี่ยวชาญด้านการเกษตรจากภาครัฐ เอกชนร่วมแลกเปลี่ยนและระดมความเห็นเพื่อออกแบบเครื่องมือทางการเงิน เพื่อยกระดับศักยภาพชาวนาไทยเดินหน้าปลูกข้าวลดโลกร้อน

เรื่อง: เมตตา คงพันธุ์อภิรักษ์ ผู้ประสานงานโครงการการเงินเพื่อบริหารความเสี่ยงด้านสภาวะภูมิอากาศ ผู้เชี่ยวชาญด้านการเงินและการเกษตรจากภาครัฐ เอกชนและสถาบันการศึกษากว่า 30 ท่านร่วมหารือในการประชุมรับฟังความคิดเห็นเรื่องแนวทางเพื่อการพัฒนากลไกและมาตรการสนับสนุนทางการเงินภายใต้ข้อเสนอโครงการเพิ่มศักยภาพการปลูกข้าวที่เท่าทันต่อสภาพภูมิอากาศ (Thai Rice GCF)”   โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อยกระดับและศักยภาพภาคการผลิตข้าวของไทยไปสู่การผลิตข้าวลดโลกร้อนและการปลูกข้าวที่ยั่งยืน การประชุมครั้งนี้จัดขึ้นโดยองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน คณะเศรษฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ และบริษัทที่ปรึกษาด้านการแก้ปัญหาด้านสภาพอากาศ เดอะ ครีเอจี้ จำกัด เพื่อแลกเปลี่ยนแนวคิด หาแนวทางที่เป็นไปได้ร่วมกันเพื่อออกแบบกลไกลและมาตราการทางการเงินสนับสนุนชาวนารายย่อย การออกแบบกลไกลและมาตราการสนับสนุนทางการเงินเป็นขั้นตอนสำคัญเพื่อเตรียมข้อมูลสำหรับการขอรับทุนสนับสนุนโครงการเพิ่มศักยภาพการผลิตข้าวที่เท่าทันต่อภูมิอากาศหรือThai Rice GCF project มิสเตอร์โทเบียส บรอยนิก ที่ปรึกษาทางการเงินการเกษตรของ GIZ โดยโครงการมีแผนเพิ่มศักยภาพเกษตรกรมากถึง   2.5 แสนคนใน 15 จังหวัดทางภาคเหนือ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือและภาคกลาง