Category: ข่าว

ประเทศไทยประกาศความสำเร็จปักหมุดพื้นที่ต้นแบบการปลูกข้าวหอมมะลิยั่งยืน สร้างรายได้ ขยายโอกาสชาวนาเชื่อมต่อผลผลิตสู่ตลาดโลก

เรื่องและภาพ: โครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (ประเทศไทย) กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร อุบลราชธานี –   ที่เวทีการประชุมเสวนาทิศทางการส่งเสริมและพัฒนาการผลิตข้าวที่ยั่งยืน และพิธีปิดโครงการตลาดนำการผลิตเพื่อเกษตรกรรายย่อย (ประเทศไทย) (Market-oriented Smallholder Value Chain: MSVC Thailand) จัดขึ้น ณ ห้องประชุม เขื่อนสิรินธร อ.สิรินธร จ.อุบลราชธานี องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) พร้อมด้วยผู้แทนจากหน่วยงานภาครัฐและเอกชน ประกอบด้วย กรมการข้าว บริษัทโอแลม อกริ (Olam Agri) และคร็อป ไลฟ์ (Crop Life) ร่วมกันประกาศความสำเร็จ

GGC ร่วมกับ GIZ และพันธมิตร บันทึกข้อตกลงยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน

ภาพและเรื่อง: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร กระบี่ – บริษัท โกลบอลกรีนเคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GGC ร่วมกับองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประเทศไทย และพันธมิตร บันทึกข้อตกลงยกระดับการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน ณ เดอะ บียอนด์ รีสอร์ท จังหวัดกระบี่ เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา GGC ร่วมกับ GIZ ประเทศไทย ดำเนินโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Sustainable and Climate-friendly

“ข้าว” และ “ข้าวยั่งยืน” ทางเลือกของผู้บริโภคต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตเกษตรกรและสิ่งแวดล้อม

สริดา คณานุศิษฎ์ โครงการความร่วมมือ ไทย – เยอรมัน ด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ภาคเกษตรกรรม และ โครงการยกระดับความสำคัญของข้าวยั่งยืนผ่านเวทีข้าวยั่งยืน องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างหน่วยงานภาครัฐของไทยและองค์กรภาคเอกชนจากนานาประเทศ ทำงานร่วมกันเพื่อสร้างความตระหนักเกี่ยวกับประโยชน์ของ “ข้าวยั่งยืน” ให้เกิดขึ้นในกลุ่มผู้ผลิต ผู้ค้าปลีก และผู้บริโภคทั้งในทวีปเอเชียและแอฟริกา เมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา GIZ ประเทศไทยได้มอบหมายให้ยูโกฟ (YouGov) บริษัทวิจัยและวิเคราะห์ข้อมูลตลาดระดับโลก  ดำเนินการศึกษาวิจัยเกี่ยวกับการรับรู้ของผู้บริโภคชาวไทยที่มีต่อข้าวที่ผลิตอย่างยั่งยืน รวมไปถึงคุณลักษณะที่ผู้บริโภคกำหนดว่าเป็นข้าวยั่งยืนและผลกระทบเชิงบวกที่เกิดขึ้นจากการตัดสินใจซื้อตามคุณลักษณะเหล่านั้น ซึ่งได้มีการกำหนดปัจจัยที่เกี่ยวข้องกับกลุ่มเป้าหมายผู้มีอำนาจตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์สำหรับการบริโภคภายในครัวเรือน โดยมีการสำรวจข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างชาวไทยจำนวนมากกว่าหนึ่งพันรายที่บริโภคข้าวมากกว่าห้ามื้อต่อสัปดาห์ โดยพิจารณาจากเพศ อายุ การศึกษา การบริโภคที่คำนึงถึงความยั่งยืน ผลการวิจัยในภาพรวมพบว่า ปัญหาที่เกิดจากความแห้งแล้งและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (ร้อยละ 57)

เพิ่มศักยภาพการรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศเพื่อสร้างภูมิทัศน์ที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก

ศนิวาร บัวบาน โครงการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าในอาเซียน (ASEAN AgriTrade) การบรรลุเป้าหมายร่วมกันเรื่องการสร้างความยืดหยุ่นและภูมิทัศน์การปล่อยก๊าซเรือนกระจกระดับต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกให้เป็นไปตามข้อตกลงจากการประชุมภาคีอนุสัญญาสหประชาชาติว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศครั้งที่ 26 หรือ UN Climate Change Conference of the Parties (COP26) จำเป็นต้องมีเป้าหมายการทำงานร่วมกันอย่างจริงจัง  จีไอแซดประเทศไทยโดย GIZ ประเทศไทยโดยโครงการส่งเสริมการเกษตรอย่างยั่งยืนในห่วงโซ่คุณค่าในอาเซียน (ASEAN AgriTrade) สนับสนุนโดย กระทรวงความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการพัฒนาแห่งสหพันธ์สาธารณรัฐเยอรมนี (BMZ) ร่วมกับหุ้นส่วนเพื่อการพัฒนาจัดการประชชุดของการประชุมเสมือนจริงนี้ช่วยเพิ่มความเข้าใจในนโยบายสภาพภูมิอากาศ ปฏิญญา และโครงการที่ริเริ่มจาก COP26 รวมทั้งผลกระทบต่อการผลักดันภูมิทัศน์ที่ยืดหยุ่นและปล่อยก๊าซเรือนกระจกต่ำในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก งานประชุมครั้งนี้ได้รับความร่วมมือจากหน่วยงานเพื่อการพัฒนาจำนวนมาก ประกอบด้วยองค์การอาหารและการเกษตรแห่งสหประชาชาติ ศูนย์ฝึกอบรมวนศาสตร์ชุมชนแห่งภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก กลุ่มพันธมิตรด้านสภาพภูมิอากาศและอากาศบริสุทธิ์ โครงการแห่งสหประชาชาติว่าด้วยการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกจากการตัดไม้ทำลายป่าและความเสื่อมโทรมของป่า

เกษตรฯ จับมือภาคเอกชน เดินหน้าขยายอุตสาหกรรมน้ำมันปาล์มไทยสู่ตลาดโลก

เรื่องและภาพ: โครงการการผลิตปาล์มน้ำมัน และน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทยกลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร องค์กรเจรจาระหว่างประเทศว่าด้วยปาล์มน้ำมันยั่งยืน (RSPO) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (SCPOPP) ร่วมจัดงานสัมมนาเชิงธุรกิจ  เรื่อง “เส้นทางสู่การยกระดับตลาดปาล์มน้ำมันยั่งยืนในประเทศไทย ครั้งที่ 2” ที่โรงแรมพูลแมน คิง เพาเวอร์ กรุงเทพฯ  เพื่อนำเสนอทิศทางของตลาดน้ำมันปาล์มยั่งยืนและโอกาสของอุตสาหกรรมไทยในอนาคต ร่วมแลกเปลี่ยนแนวคิดและประสบการณ์ หนทางสู่การยกระดับตลาดปาล์มน้ำมันยั่งยืนในประเทศไทย ผ่านแนวคิด “ความรับผิดชอบร่วมกัน” (Shared Responsibility) ตลอดจนรวบรวมความเห็นต่อการจัดตั้งเครือข่ายพันธมิตรปาล์มน้ำมันยั่งยืนแห่งประเทศไทย(Thailand Sustainable Palm Oil Alliance) ในงานนี้มีผู้ขับเคลื่อนระดับนโยบายและตัวแทนเกษตรกรผู้ปลูกปาล์ม โรงสกัด โรงกลั่น ผู้ผลิตแปรรูป ผู้ค้าส่งออกน้ำมันปาล์ม

การคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลในภาคการเกษตร

โชติกา ธรรมสุวรรณ และพัชรินทร์ แซ่เฮง กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร ในปัจจุบัน “ความเป็นส่วนตัวของข้อมูล” เป็นหนึ่งในหัวข้อหลักที่กำลังได้รับความสนใจในทุกภาคส่วน ไม่เว้นแม้แต่ภาคการเกษตร เมื่อโลกหมุนเข้าสู่ยุคดิจิทัลอย่างเต็มรูปแบบ การเปลี่ยนผ่านนี้นำไปสู่วิวัฒนาการของการใช้สื่อสังคม (Social Media) และการใช้ประโยชน์จากข้อมูลมหาศาล ส่งผลให้ความสามารถในการควบคุมข้อมูลส่วนบุคคลของปัจเจกบุคคลลดลง การเสริมสร้างองค์ความรู้ในด้านนี้จึงเป็นสิ่งจำเป็น โดยเฉพาะเพื่อตอบคำถามว่า “ทำไมข้อมูลส่วนบุคคลของเราทุกคนกำลังถูกนำไปใช้ ถูกนำไปใช้โดยใคร และใช้อย่างไร” ปัจจุบันหลายประเทศทั่วโลกกำลังนำกฎระเบียบต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลไปบังคับใช้ เพื่อเพิ่มความสามารถในการปกป้องข้อมูลส่วนบุคคลของเราทุกคนให้ได้มากที่สุด ซึ่งประเทศไทยกำลังนำพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562  มาบังคับใช้ในเร็ววันนี้ เพื่อเข้ามาดูแลความปลอดภัยในเรื่องของข้อมูลที่สามารถระบุตัวตนบุคคลใดบุคคลหนึ่งได้ ดังนั้นจะมีระเบียบและข้อบังคับที่ผู้ควบคุมข้อมูลส่วนบุคคล (Data Controller) และผู้ประมวลผลข้อมูลส่วนบุคคล (Data Processor) ต้องปฏิบัติตาม