Category: ข่าว

ไทย ไรซ์ นามา เดินหน้ามาตรการทางการเงิน พร้อมสนับสนุนเกษตรกรเพิ่มประสิทธิภาพการทำนาลดโลกร้อน

กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร ปทุมธานี – โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน  (ไทย ไรซ์ นามา) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างกรมการข้าว กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) พร้อมเดินหน้าสนับสนุนเกษตรกรผู้ปลูกข้าวรายย่อยเข้าถึงเทคโนโลยีการทำนาลดโลกร้อน ชูมาตรการทางการเงิน “คน-ละ-ครึ่ง” ช่วยเหลือเกษตรกรเข้าถึงการปรับระดับพื้นที่นา ด้วยระบบเลเซอร์ และการจัดการฟางข้าวและตอซังข้าว เพื่อลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคการผลิตข้าวของไทย (จากซ้ายไปขวา) มร.ไรน์โฮลด์ เอลเกส ผู้อํานวยการองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ประจําประเทศไทยและมาเลเซีย นายกฤษ อุตตมะเวทิน รองอธิบดีกรมการข้าว นายวิศิษฐ์ ศรีสุวรรณ์ ผู้แทนกรมส่งเสริมสหกรณ์ กรรมการธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส.) และนายพงษ์พันธ์

เกษตรฯ เปิดตัวใบรับรอง ePhyto พร้อมใช้รับรองสินค้าส่งออก ทุกประเทศ 1 ก.ค.นี้ ดันส่งออกฉลุย

กลุ่มประชาสัมพันธ์และสื่อสารองค์การ กรมวิชาการเกษตร กรมวิชาการเกษตร จับมือ กลุ่มพันธมิตรโลกด้านการอำนวยความสะดวกทางการค้า (Global Alliance for Trade Facilitation) เปิดตัว ระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์   หลังนำร่องเปิดใช้งานส่งออกพืช 22 ชนิดไปจีนกระแสดีเกินคาด  เอื้อผู้ประกอบการลดขั้นตอนและระยะเวลาการทำงาน  ตรวจสอบย้อนกลับแหล่งที่มาได้ตั้งแต่ประเทศปลายทางจนถึงเกษตรกร   ดีเดย์เปิดใช้งานใบรับรอง e Phyto ขยายคลุมสินค้าไปทุกประเทศทั่วโลก  1 กรกฎาคม 2565 นี้ นายระพีภัทร์ จันทรศรีวงศ์  อธิบดีกรมวิชาการเกษตร เปิดเผยว่า  กรมวิชาการเกษตร ได้ดำเนินโครงการระบบใบรับรองสุขอนามัยพืชอิเล็กทรอนิกส์ (ePhyto)ร่วมกับ สำนักงานมาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแห่งชาติ (มกอช.) กรมศุลกากร

โครงการข้าวหอมมะลิยั่งยืนสร้างโอกาส-สานพลังเพื่อผู้หญิงในภาคการเกษตรของไทย

เรื่อง: อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล ภาพ: ศรีจักรภัทร เฉลิมชัย กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร เกษตรกรสตรีจากภาคอีสานได้รับการรับรองจาก เวทีข้าวยั่งยืน หรือ Sustainable Rice Platform (SRP)  พร้อมพัฒนาส่งเสริมการผลิตข้าวหอมมะลิไทยลดโลกร้อน การใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและสร้างความยั่งยืนตลอดห่วงโซ่คุณค่าของการ เกษตรกรสตรีจากร้อยเอ็ดและอุบลราชธานี ได้รับเชิญจากมิสเตอร์ ฮันส์-อูลริค ซูเบ็ค อัครราชทูตและหัวหน้าฝ่ายเศรษฐกิจสถานเอกอัครราชทูตเยอรมนีประจำประเทศไทย และดร.เบิร์น คริสเตียนเซน ที่ปรึกษาทูตด้านอาหารและการเกษตร เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ถึงความสำเร็จของการปลูกข้าวหอมมะลิยั่งยืนในระดับชุมชน มัสสา โยริบุตร พูนทรัพย์ พรหมมี และ อุดร คำวงสา คือเกษตรกร 3 คนแรกของไทยและเป็นเกษตรกรสามคนแรกของโลกที่ได้รับการรับรองอย่างเป็นทางการในฐานะ

โครงการ Thai Rice NAMA ยกระดับความช่วยเหลือปี 65 ให้เงินอุดหนุน 50% ‘คนละครึ่ง’ สำหรับชาวนาและผู้ประกอบการที่สนใจเพื่อการทำนาวิถีใหม่ลดโลกร้อน

พิชญนันท์ พรหมพิชญานนท์ กลุ่มเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร โครงการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิตและลดภาวะโลกร้อนจากการทำนาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน หรือ ‘ไทย ไรซ์ นามา’ เปิดตัวมาตรการยกระดับความช่วยเหลือโดยเพิ่มมาตรการสนับสนุนด้านการเงิน “คน-ละ-ครึ่ง” เพื่อผลักดันเทคโนโลยีเพิ่มผลผลิตข้าวและส่งเสริมการทำนาวิถีใหม่เพื่อลดโลกร้อน นายณัฎฐกิตติ์ ของทิพย์ อธิบดีกรมการข้าว ในฐานะกรรมการและเลขานุการคณะกรรมการโครงการ ไทย ไรซ์ นามา กล่าวว่ามาตรการความช่วยเหลือทางการเงินชุดล่าสุดนี้ ถูกออกแบบมาสำหรับชาวนาและผู้ให้บริการทางการเกษตรในพื้นที่ดำเนินโครงการ 6 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท สิงห์บุรี  อ่างทอง พระนครศรีอยุธยา ปทุมธานี และสุพรรณบุรี โดยแบ่งออกเป็น 2 ประเภทคือ มาตรการสนับสนุนควบคู่ หรือแพ็กเกจ 1 

โครงการคอฟฟี่พลัสประเทศไทยส่งเสริมผู้ปลูกกาแฟรายย่อยสู่การเป็นนักธุรกิจเกษตรมืออาชีพ ผ่านการอบรมออนไลน์

อภิรดี ตรีรัตน์เกื้อกูล กลุ่มเกษตรและความมั่นคงทางอาหาร สถานการณ์การแพร่ระบาดของโควิด-19 ยังส่งผลกระทบอย่างต่อเนื่องกับวิถีชีวิตของคนไทย ทุกภาคส่วนจำเป็นต้องปรับตัวและหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อรับมือกับความเปลี่ยนแปลง เพื่อขับเคลื่อนการทำงานรวมทั้งกิจกรรมต่าง ๆ ภายใต้เงื่อนไขวิถีชีวิตใหม่ และการเว้นระยะห่างทางสังคม ด้วยเหตุนี้ โครงการพัฒนาระบบการผลิตกาแฟของผู้ประกอบการรายย่อย ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ คอฟฟี่พลัส (Coffee+) จึงจัดการอบรมเชิงปฏิบัติการออนไลน์ขึ้นเพื่อส่งเสริมให้เกษตรกรและเจ้าหน้าที่หน่วยงานเกษตรในพื้นที่เข้าใจองค์ความรู้ทั้งทางทฤษฎีและการปฏิบัติของหลักสูตร เพื่อเกิดกระบวนการเรียนรู้แนวทางการจัดการธุรกิจเกษตรอย่างต่อเนื่อง หลักสูตร “โรงเรียนธุรกิจสำหรับเกษตรกร” (Farmer Business School: FBS)  คือ หนึ่งผลงานสำคัญของโครงการ ที่ได้รับการออกแบบเพื่อส่งเสริมและพัฒนาทักษะและศักยภาพการจัดการธุรกิจเชิงเกษตร เช่น กลไกราคาและตลาด การวางแผนการผลิต การคำนวณต้นทุนและกำไร การปลูกพืชผสมผสานเพื่อลดความเสี่ยง รวมถึงการปลูกฝังวินัยการจดบันทึก และการออมเงินอย่างถูกวิธีให้กับเกษตรกร เจ้าหน้าที่นักวิชาการระดับปฏิบัติการของกรมส่งเสริมการเกษตร

MRV Knowledge Transfer Tools for Thai Rice Sector

สื่อการเรียนรู้ เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบ “MRV” สำหรับภาคส่วนข้าวของประเทศไทย

โชติกา ธรรมสุวรรณ และพัชรินทร์ แซ่เฮง กลุ่มเกษตรและอาหาร องค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) จับมือกรมการข้าวและสถาบันวิจัยข้าวนานาชาติ (IRRI)  ผลิตสื่อการเรียนรู้ประกอบการศึกษาระบบตรวจวัด รายงานผลและทวนสอบก๊าซเรือนกระจก (The Monitoring, Reporting and Verification System: MRV) ซึ่งเป็นหนึ่งในกระบวนการจัดการความรู้ (Knowledge Management) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้เชิงเทคนิคด้านการคำนวณการปล่อยก๊าซเรือนกระจกในภาคส่วนข้าวไปสู่กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักวิจัยไทย นักส่งเสริมการเกษตร เกษตรกรในพื้นที่ และผู้สนใจทั่วไป โดยแปรเปลี่ยนองค์ความรู้ที่ซับซ้อนให้สามารถศึกษาและทำความเข้าใจง่าย ตั้งแต่ต้นจนจบกระบวนการ เพื่อมุ่งสู่เป้าหมายใหญ่คือ การพัฒนาระบบที่สะท้อนการรายงานปริมาณการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกที่แท้จริง มีความโปร่งใสและการันตีความน่าเชื่อถือ  ในวงการงานที่เกี่ยวข้องกับเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ ทราบกันดีว่า ระบบ