Category: ปาล์มน้ำมัน

การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมด้วยโมเดล BCG

เรื่องและภาพ: ธิตินัย พงศ์พิริยะกิจ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยทางอาหาร GIZ ประเทศไทย การทำการเกษตรในปัจจุบันนอกจากจะให้ความสำคัญกับประสิทธิภาพในการผลิตแล้ว ผลกระทบทางด้านสิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นจากการผลิตก็เป็นสิ่งที่ไม่ควรมองข้าม ปัจจุบันหลายประเทศรวมทั้งประเทศไทยได้ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทางเศรษฐกิจโดยคำนึงถึงความยั่งยืน ดังจะเห็นได้จากเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ของสหประชาชาติ ประเทศไทยเองนั้นก็มีแนวทางที่จะบรรลุเป้าหมายดังกล่าวผ่านทางโมเดล BCG (Bio-Circular-Green Economy Model) ซึ่งเป็นรูปแบบการพัฒนาเศรษฐกิจแบบองค์รวม ประกอบไปด้วย 3 เศรษฐกิจหลัก คือ เศรษฐกิจชีวภาพ (B: Bio Economy) การนำทรัพยากรที่มีมาสร้างมูลค่า โดยใช้องค์ความรู้และนวัตกรรม เศรษฐกิจหมุนเวียน (C: Circular Economy)

วิทยากร SPOPP ต้นแบบที่ให้มากกว่าการสอนและการแบ่งปันความรู้

เรื่องและภาพ จันทิมา กูลกิจ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร ถนอมขวัญ จันทร์พิบูลย์ วิทยากร โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน บริษัท ปาล์มพันล้าน จำกัด วิทยากรมักถูกมองว่าเป็นเพียงผู้บรรยาย แต่สำหรับโครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืน หรือ SPOPP แล้ว วิทยากรของเรานั้นยังเป็นทั้งผู้สอน ผู้นำกระบวนการฝึกอบรม และเป็นผู้ตรวจสอบที่คอยติดตามว่าเกษตรกรได้นำความรู้และเทคนิคที่ได้จากการอบรมไปใช้หรือไม่ วิทยากรของโครงการ SPOPP หลายคนยังคงสนุกกับสิ่งที่ทำและพัฒนาการอบรมอย่างต่อเนื่อง เพราะนอกจากจะเป็นผู้ถ่ายทอดความรู้ในเรื่องต่างๆ แล้ว วิทยากรยังเป็นฟันเฟืองสำคัญที่ช่วยขับเคลื่อนกลุ่มเกษตรกรผู้ปลูกปาล์มน้ำมันไปสู่เป้าหมายในการได้รับการรับรองมาตรฐานการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน หรือ RSPO กิจกรรมที่ผ่านมาสะท้อนให้เห็นถึงความสำคัญของวิทยากรโครงการ SPOPP ได้อย่างชัดเจน ถ้าขาดคนใดคนหนึ่งไป หรือหากใครขาดคุณสมบัติไปข้อใดข้อหนึ่ง ย่อมส่งผลกระทบต่อการดำเนินงานอย่างแน่นอน นอกจากนั้น ความท้าทายสำคัญที่วิทยากรต้องเผชิญในการพัฒนาทักษะก็คือการเรียนรู้จากสถานการณ์จริงที่อาจแตกต่างไปจากสิ่งที่ได้รู้ในห้องเรียน