11 กรกฎาคม 2566

โครงการ E-WMSA: การเสริมสร้างความแข็งแกร่งของประเทศไทยต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศในลุ่มน้ำยม-น่าน

เรื่องและภาพ: เกียรติยศ วงศ์อุดมเลิศ กลุ่มเกษตรและความปลอดภัยด้านอาหาร GIZ ประเทศไทย

ประเทศไทยได้รับการจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศที่มีความเสี่ยงสูงและเปราะบางต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในอีก 30 ปี นอกจากนี้ยังมีความเป็นไปได้ที่จะประสบวิกฤติภัยแล้งและอุทกภัยรุนแรงบ่อยครั้งขึ้น จนอาจส่งผลเสียต่อภาคเกษตรกรรม ดังนั้น ในแผนการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศแห่งชาติ ปี พ.ศ. 2561 จึงได้กำหนดให้การบริหารจัดการน้าภายใต้ภาวะวิกฤตภัยแล้งและอุทกภัยเป็นเรื่องเร่งด่วนระดับชาติ เพื่อสนับสนุนการจัดการน้ำและลดผลกระทบจากภัยธรรมชาติให้มีประสิทธิภาพมากขึ้น โครงการเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในประเทศไทยด้วย

ด้วยเหตุนี้กองทุนภูมิอากาศสีเขียว (Green Climate Fund : GCF) จึงจัดตั้งโครงการบริหารจัดการน้ำที่มีประสิทธิภาพและการเกษตรแบบยั่งยืน (Enhancing Climate Resilience in Thailand through Effective Water Management and Sustainable Agriculture: E-WMSA) ขึ้น ดำเนินการโดยโครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nations Development Programme:UNDP)  ) ผ่านองค์กรความร่วมมือระหว่างประเทศของเยอรมัน (GIZ) ร่วมกับกรมชลประทาน  หน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนชุมชนในพื้นที่ เพื่อปรับปรุงแผนการจัดการลุ่มน้ำยม-น่านให้รับมือต่อวิกฤติภัยแล้งและอุทกภัยรุนแรงที่อาจจะเกิดขึ้น โดยนำกลไกการเสริมสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพโครงสร้างพื้นฐานสีเทาด้วยมาตรการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (Ecosystem-based Adaptation:EbA) มาปฏิบัติใช้ร่วมกับนโยบายและการวางแผนการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำ ในจังหวัดพิษณุโลก สุโขทัย และอุตรดิตถ์

กิจกรรมกลุ่ม: สมาชิกภายในกลุ่มมาจากหลายภาคส่วนได้แสดงคิดเห็นภายในกิจกรรมกลุ่มซึ่งเป็นการเป็นการเปิดพื้นที่ให้เกิดการพูดคุย แบ่งปัน เพื่อนำผลดังกล่าวมาพัฒนาต่อยอดให้โครงการฯประสบความสำเร็จ

โครงการ E-WMSA มุ่งเสริมสร้างศักยภาพของบุคลากร มีการฝึกอบรมพื้นฐานด้านการบริหารจัดการทรัพยากรน้าแบบบูรณาการภายใต้การเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศและการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ และ การฝึกอบรมด้านเทคนิคและการปฏิบัติจริง (on-the-job training) ของกระบวนการนามาตรการ EbA มาใช้ในการบริหารจัดการทรัพยากรน้าเพื่อเสริมสร้างและเพิ่มประสิทธิภาพของโครงสร้างแข็งทางวิศวกรรม

การประชุมเชิงปฏิบัติการมีผู้เข้าร่วมจากหลายภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็น กรมชลประทานส่วนกลางและภูมิภาค คณะกรรมการผู้ใช้น้ำ หน่วยงานท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง สถาบันการศึกษา องค์กรอิสระ สำนักงานทรัพยากรน้ำแห่งชาติระดับภูมิภาค และหน่วยงานจากกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมในท้องถิ่นที่เกี่ยวข้อง โดยมีวัตถุประสงค์ของการประชุมฯ คือ

  • แลกเปลี่ยนข้อมูลเพื่อทำความเข้าใจเกี่ยวกับการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพและเชื่อมโยงกับการดำเนินงานในระดับลุ่มน้ำร่วมกัน
  • วิเคราะห์โอกาสและศักยภาพในการประยุกต์ใช้มาตรการการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (EbA) มาเสริมการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานสีเทา เพื่อช่วยบูรณาการแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำที่ตอบโจทย์ความท้าทายจากสภาพภูมิอากาศที่แปรปวรตามบริบทในพื้นที่มากยิ่งขึ้น
  • ให้ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับบทบาทและภารกิจของแต่ละภาคส่วนในการร่วมกันส่งเสริมและขับเคลื่อนมาตรการการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศในลุ่มน้ำ
  • สร้างความเข้าใจเกี่ยวกับโครงการฯ และแผนการดำเนินงานเพื่อส่งเสริมมาตรการการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ เพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำสูงสุด ตลอดจนพัฒนาหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพและการฝึกอบรมให้สอดคล้องกับโจทย์และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
คุณ ชลเทพ ทาตรี ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำและบำรุงรักษา
สำนักงานชลประทานที่ 3

คุณ ชลเทพ ทาตรี ผู้อำนวยการส่วนบริหารจัดการน้ำ สำนักงานชลประทานที่ 3 กล่าวว่า “การจัดการน้ำโดยอาศัยโครงสร้างพื้นฐานสีเทาอาจรับมือต่อปัญหาไม่ได้อีกต่อไป ดังนั้นโครงการ E-WMSA จะนำร่อง ปรับปรุงแนวทางการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในพื้นที่ลุ่มแม่น้ำยมและน่านโดยเพิ่มบทบาทของระบบนิเวศ หรือเรียกกันว่า “โครงสร้างสีเขียว” มาเสริมการทำงานของโครงสร้างพื้นฐานสีเทา เพื่อเตรียมพร้อมต่อปัญหาอุทกภัยและภัยแล้งที่จะเกิดขึ้น ความสำเร็จของโครงการนี้ขึ้นอยู่กับการสนับสนุนจากทุกภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง ดังนั้นการจัดประชุมครั้งนี้เป็นจุดเริ่มต้นที่สำคัญของการร่วมมือที่ดีในการแลกเปลี่ยนความรู้ และการสะท้อนถึงศักยภาพและความต้องการของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องเพื่อนำไปวางแผนหลักสูตรการพัฒนาศักยภาพและการฝึกอบรมอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดต่อไป”

การประชุมฯสร้างบรรยากาศในการเรียนรู้และเปิดโอกาสให้ผู้เข้าร่วมมีส่วนร่วมผ่านกิจกรรมหัวข้อต่างๆ ซึ่งหัวข้อภายในการประชุมประกอบด้วย การนำเสนอถึงสถานการณ์ปัจจุบันเรื่องแนวโน้มในอนาคตของนโยบาย ทิศทาง แผนงาน และแนวทางปฏิบัติว่าด้วยการปรับปรุงงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศด้วยมาตรการการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ (EbA) และการนำเสนอที่มา ภาพรวม กลยุทธ์ และกรอบการดำเนินงานของโครงการ โดยเน้นผลผลิตที่เกี่ยวกับกิจกรรมในครั้งนี้ เป็นต้น นอกจากนี้ กิจกรรมกลุ่มย่อยภายในการประชุมยังเป็นการเปิดพื้นที่ให้ผู้เข้าร่วมแลกเปลี่ยนในหลายประเด็น ไม่ว่าจะเป็น กิจกรรมภาพฝันที่น่าจะเกิดขึ้นจากการปรับปรุงงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำโดยการเสริมสร้างความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำด้วยมาตรการ (EbA) โดยให้ผู้เข้าร่วมระดมความคิดเพื่อวาดภาพโครงการในระยะ 3 ปีข้างหน้า รวมทั้ง กิจกรรมกลุ่มย่อยเกี่ยวกับการวิเคราะห์ถึงศักยภาพที่ยังขาดและต้องเติมเต็มของโครงการเพื่อให้สามารถทำงานได้ตามแผน กิจกรรมนี้เหล่านี้เปิดโอกาสผู้เข้าร่วมเสนอแนะข้อคิดเห็นเพื่อออกแบบมาตรการพัฒนาศักยภาพได้อย่างมีประสิทธิภาพ

คุณ กฐิน แสงมี ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ 8 ตำบลไกลนอก อำเภอกงไกลราช สจังหวัดสุโขทัย (ผู้ใช้น้ำ) นำเสนอในกิจกรรมภาพฝันที่น่าจะเกิดขึ้นจากการปรับปรุงงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำในระยะ 3 ปีข้างหน้า

ตลอดสองวันของการประชุมฯ ผู้เข้าร่วมมีความเข้าใจร่วมกันในหลายประเด็น ได้แก่ 1.) การรับทราบข้อมูลสถานการณ์ปัจจุบันเกี่ยวกับการปรับปรุงงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำอย่างมีประสิทธิภาพเพื่อเพิ่มภูมิคุ้มกันจากผลกระทบการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโดยการเสริมสร้างความสมบูรณ์ของโครงสร้างพื้นฐานด้านการจัดการน้ำด้วยมาตรการการปรับตัวโดยอาศัยระบบนิเวศ(EbA) 2.) ผู้เข้าร่วมสามารถเชื่อมโยงระหว่างแนวคิดการปรับปรุงงานบริหารจัดการทรัพยากรน้ำฯ กับการดำเนินงานในระดับลุ่มน้ำ มีความเข้าใจร่วมกันเกี่ยวกับโครงการในภาพรวม และบทบาทในการมีส่วนร่วมและสนับสนุนการดำเนินงานในแต่ละส่วน 3.) ผู้เข้าร่วมยังมีโอกาสในการสะท้อนมุมมองและความคิดเห็นต่อแนวทางการพัฒนาศักยภาพ และการจัดการฝึกอบรม สำหรับบุคลากรหรือองค์กรที่มีภารกิจเกี่ยวข้องเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลสูงสุดให้สอดคล้องกับโจทย์และความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย และแผนการสนับสนุนของโครงการฯ 4.) การส่งเสริมความมีส่วนร่วมในการดำเนินงานโครงการ ตามบทบาทและแผนงานที่ได้มีการนำเสนอและตกลงร่วมกันในเบื้องต้น ท้ายที่สุดโครงการจะนำผลลัพธ์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการในครั้งนี้ ไปดำเนินการวางแผนการฝึกอบรมให้สอดคล้องและเป็นไปตามความต้องการของผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป

ผลลัพธ์ของการประชุมเชิงปฏิบัติการนี้จะถูกนำไปใช้ในการออกแบบแผนการฝึกอบรมที่เหมาะสมกับความต้องการของผู้มีส่วนได้ส่วนเสียตามแผนการดำเนินโครงการกิจกรรม เพื่อให้มั่นใจว่าการพัฒนาโครงการมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล ส่งเสริมการมีส่วนร่วมอย่างแข็งขัน และความคิดเห็นจากผู้เข้าร่วมทั้งหมด

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

แกลอรี่ภาพ

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN