ระยะเวลาดำเนินโครงการ: มกราคม พ.ศ. 2566 - ธันวาคม 2568

เพื่ออนาคตที่ดีของภาคการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันอกเฉียงใต้ การใช้นวัตกรรมเพื่อช่วยบริหารความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศเพื่อคุ้มครองเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้เสียภาษี

ผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศอันเนื่องมาจาก ภัยแล้งหรืออุทุกภัย นำมาซึ่งความเสียหายต่อผลผลิตทางการเกษตร และทำให้เกษตรกรสูญเสียรายได้ อีกทั้ง ความเสียหายของผลผลิตทางการเกษตร ยังอาจส่งผลให้ราคาอาหารสูงขึ้น ดังนั้น โครงการฯ มุ่งมั่นที่จะช่วยเหลือเกษตรกรผ่านการปฏิบัติทางการเกษตรที่ยั่งยืนเพื่อช่วยลดต้นทุนและเพิ่มรายได้

นอกจากนี้ โครงการฯ มีส่วนช่วยประสานให้หน่วยงานร่วมดำเนินโครงการฯ อาทิ ธนาคารและบริษัทประกันภัย ในการเข้าถึงข้อมูลสภาพอากาศและดาวเทียมเพื่อสามารถคำนวนความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้นและสามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการประกันภัยพืชผลที่เกษตรกรเข้าถึงได้ ซึ่งเป็นการสร้างประโยชน์ให้กับทุกภาคส่วน โดยธนาคารและบริษัทประกันภัยมีลูกค้าเพิ่มขึ้น ในขณะเดียวกันเกษตรกรได้รับการคุ้มครองที่ดียิ่งขึ้น หากเกษตรกรสามารถรับมือและป้องกันผลกระทบที่เกิดจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้น เป็นการช่วยลดภาระทางด้านงบประมาณและผู้เสียภาษีในประเทศได้ นี้คืองานของเราในการป้องกันความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เพื่อประโยชน์ของเกษตรกร ผู้บริโภค และผู้เสียภาษี

วัตถุประสงค์

  • เราช่วยให้เกษตรกรมั่นใจว่ายังคงมีรายได้ แม้ได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนแปลงทางสภาพภูมิอากาศ เราสนับสนุนความมั่นคงทางอาหาร เราส่งเสริมให้เกษตรกรหญิง-ชายมีการตัดสินใจร่วมกันในการบริหารจัดการการเพาะปลูกของครอบครัว
  • เราช่วยประสานให้หน่วยงานร่วมดำเนินโครงการฯ เข้าถึงเทคโนโลยีเพื่อให้สามารถออกแบบผลิตภัณฑ์ทางการเงิน และการประกันภัยพืชผลที่เกษตรกรเข้าถึงได้
  • เราช่วยสนับสนุนความมั่นคงของอาชีพเกษตรกร ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในขับเคลื่อนรายได้ให้กับประเทศและภูมิภาค

ประเทศ

ระดับภูมิภาคดำเนินงานใน 10 ประเทศสมาชิกอาเซียน
ระดับประเทศ ดำเนินงานในประเทศอินโดนีเซีย ไทย และเวียดนาม

แนวทางการดำเนินงาน

  • ภาคการเกษตรในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ไม่เพียงแต่เป็นแหล่งอาหารให้กับประชากรในภูมิภาคเท่านั้น แต่ยังเป็นแหล่งรายได้สำหรับผู้คนนับล้านและมีความสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศ ทั้งนี้ หลายๆ ประเทศในภูมิภาคได้รับผลกระทบจากการเปลี่ยนสภาพภูมิอากาศเป็นอันดับต้นๆ ของโลก เราจึงมุ่งทำงานร่วมกับเกษตรกร ธนาคาร และบริษัทประกันภัยเพื่อเพิ่มศักยภาพในการจัดการความเสี่ยงจากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
  • เรามีการอบรมเกษตรกรเพื่อให้เกษตรกรเข้าใจว่าการทำเกษตรเป็นการทำธุรกิจอย่างหนึ่ง ซึ่งมีหลักการทางธุรกิจไม่ต่างจากธุรกิจประเภทอื่น รายได้ส่วนหนึ่งควรใช้เพื่อการลงทุน และอีกส่วนเพื่อการเก็บออม หากเกษตรกรบริหารจัดการการเพาะปลูกได้ดีขึ้น ก็จะช่วยให้มีความพร้อมในการรับมือต่อความเสี่ยงจากสภาพภูมิอากาศได้ดีขึ้นเช่นกัน
  • เราสนับสนุนเกษตรกรผ่านการประกันภัยพืชผล สินเชื่อด้านความยั่งยืน และองค์ความรู้เพื่อลดต้นทุนและเพิ่มรายได้ อาทิ เช่น สินเชื่อสีเขียวสามารถช่วยเกษตรกรลงทุนปรับปรุงระบบน้ำในแปลงเกษตรให้มีประสิทธิภาพ เพื่อลดปริมาณน้ำที่ใช้ ลดค่าใช้จ่ายและเตรียมความพร้อมหากเกิดภัยแล้ง

หน่วยงานร่วมดำเนินโครงการ

ระดับภูมิภาค: สำนักเลขาธิการอาเซียนด้านอาหาร การเกษตรและป่าไม้ และคณะทำงานด้านพืชของอาเซียน
ระดับประเทศ:หน่วยงานที่เกี่ยวข้องภายใต้กระทรวงเกษตร กระทรวงการคลัง สถาบันการเงิน ภาคเอกชน สถาบันวิจัย เกษตรกร และภาคส่วนที่เกี่ยวข้อง

ติดต่อ
จูเลียน ทอส์ท
ผู้อำนวยการโครงการ
โครงการ AgriCRF

เอกสารที่เกี่ยวข้อง