22 เมษายน 2564

กลุ่มวิทยากรหลักสูตร TOPSA พร้อมเดินหน้าถ่ายทอดความรู้การผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน

ปฏิเสธไม่ได้ว่าวิทยากรคือกำลังสำคัญในการขับเคลื่อนภารกิจการต่อยอดความรู้มาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนในกลุ่มเกษตรกรปาล์มน้ำมัน

ปัจจุบันมีวิทยากร จำนวนถึง 320 รายที่ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาเกษตรกรรายย่อยของไทยในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (Thailand Oil Palm Smallholder Academy: TOPSA) สามารถถ่ายทอดความรู้มาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรแล้วกว่า 3,000 ราย ในจำนวนนี้กว่า 2,500 รายยังได้รับการฝึกอบรมในเรื่องมาตรฐานปาล์มยั่งยืน (Roundtable for Sustainable Palm Oil หรือ RSPO) การบริหารจัดการกลุ่ม  ระบบควบคุมภายใน และการจัดทำฐานข้อมูลเกี่ยวกับการผลิตปาล์มน้ำมัน

หลักสูตร TOPSA เป็นหลักสูตรสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการผลิตน้ำมันปาล์มตามมาตรฐาน RSPO ภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (Sustainable and Climate-Friendly Palm Oil Production and Procurement: SCPOPP) โดยความร่วมมือระหว่าง GIZ กรมวิชาการเกษตร  และกรมส่งเสริมการเกษตร  

ทางโครงการฯ คาดหวังว่าเกษตรกรจะสามารถนำความรู้เกี่ยวกับการจัดการสวนปาล์มน้ำมันที่ดีไปสู่การปฏิบัติได้อย่างเต็มรูปแบบ เริ่มตั้งแต่ช่วงไตรมาสแรกของปี 2564 เป็นต้นไป เพื่อนำไปสู่กการทำสวนปาล์มที่เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมและการจัดการผลกระทบทางสังคม เพื่อให้เป็นไปตามข้อกำหนดของมาตรฐานที่วางเอาไว้อย่างมีประสิทธิภาพ

เสียงสะท้อนจากวิทยากรและเกษตรกร

มานพ สายนุ้ย (ซ้าย) และธนิต ศรีอ่อนนวล (ขวา)

นายมานพ สายนุ้ย กรรมการแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันตำบลไสไทย อำเภอเมือง และนายธนิต ศรีอ่อนนวล กรรมการแปลงใหญ่ปาล์มน้ำมันตำบลปกาสัย อำเภอเหนือคลอง จังหวัดกระบี่กล่าวภายหลังจากได้ร่วมอบรมเพื่อเตรียมความพร้อมถ่ายทอดความรู้ให้กับสมาชิกปาล์มน้ำมันแปลงใหญ่ในพื้นที่ของตัวเอง“หลักสูตรเกษตรกรรายย่อยผลิตปาล์มน้ำมันของไทย หรือ TOPSA ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจทางเทคนิคให้ง่ายดายและน่าสนใจยิ่งขึ้น มีความมั่นใจพร้อมถ่ายทอดความรู้และความเข้าใจเชิงลึกให้แก่เกษตรกรรายย่อยได้”

นางสาวไพลิน ก้อนเพชร ผู้จัดการกลุ่มเกษตรกรรายย่อยวิสาหกิจชุมชนหลังสวน จังหวัดชุมพร กล่าวว่า “การอบรมเป็นรูปแบบของเกม และการอภิปรายกลุ่มทั้งก่อนและหลังการบรรยาย ทำให้ผู้เข้าร่วมการประชุมเข้าถึงสาระสำคัญและช่วยสะท้อนความเข้าใจของพวกเขาได้เป็นอย่างดี”

ไพลิน ก้อนเพชร
เดชา จำนงรัตน์

อย่างไรก็ตามนายเดชา จำนงรัตน์ วิทยากรจากอำเภอลำทับ จังหวัดกระบี่ ได้กล่าวถึงความท้าทายที่เกษตรกรชาวสวนปาล์มน้ำต้องเผชิญว่า “เนื้อหาทางเทคนิคที่เกี่ยวกับการปฏิบัติทางการเกษตรเป็นเรื่องยากต่อทั้งเกษตรกรในการนำไปปฎิบัติ และต่อวิทยากรในการนำความรู้ที่ได้ไปถ่ายทอดต่อ พวกเรายังต้องการการสนับสนุนของวิทยากรจากกรมวิชาการเกษตรหรือเจ้าหน้าที่ส่งเสริมการเกษตรในจังหวัด เพื่อความยั่งยืนของการต่อยอดความรู้ไปสู่เกษตรกรสวนปาล์มของไทยในวงกว้างต่อไป” ■

สาระสำคัญเกี่ยวกับหลักสูตร TOPSA

  • หลักสูตร TOPSA เป็นหลักสูตรสำหรับเกษตรกรรายย่อยเพื่อการผลิตน้ำมันปาล์มตามมาตรฐาน RSPO ภายใต้โครงการการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมในประเทศไทย (Sustainable and Climate-Friendly Palm Oil Production and Procurement: SCPOPP) โดยความร่วมมือระหว่าง GIZ กรมวิชาการเกษตร และกรมส่งเสริมการเกษตร
  • ปัจจุบันมีวิทยากร จำนวนถึง 320 รายที่ได้รับการฝึกอบรมหลักสูตรพัฒนาเกษตรกรรายย่อยของไทยในการผลิตปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืน (Thailand Oil Palm Smallholder Academy: TOPSA)
  • เกษตรกรมากกว่า 3,000 ราย สามารถถ่ายทอดความรู้มาตรฐานการปลูกปาล์มน้ำมันอย่างยั่งยืนให้แก่เกษตรกรแล้วกว่า 3,000 ราย

เอกสารที่เกี่ยวข้อง

Thailand Oil Palm Smallholder Academy (TOPSA) – หลักสูตรพัฒนาเกษตรก ...
เอกสารภาษาไทยการผลิตปาล์มน้ำมันและน้ำมันปาล์มอย่างยั่งยืนและเป็นมิตรกับสิ ...
Factsheet: Sustainable and Climate - Friendly Palm Oil Production and Procu ...

ติดต่อเรา

  • +66 2 255 4202
  • asean-agrifood@giz.de
  • 39/1 ซอยสุขุมวิท 13, ถนนสุขุมวิท, คลองเตยเหนือ, วัฒนา, กรุงเทพฯ 10110 ประเทศไทย

การเยี่ยมชม

สื่อและแหล่งข้อมูล

โครงการ

การป้องกันข้อมูล

สมัครจดหมายข่าว

ติดตามเรา

  • Copyright © 2014 - 2019 | Sustainable Agrifood Systems in ASEAN